วันอาทิตย์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2566

การสร้างรายการ หรือ List ใน LaTex

      การสร้างรายการมีหลายแบบ เช่น ไม่มีลำดับ มีลำดับตัวเลข ลำดับที่กำหนดเอง เป็นต้น ซึ่งรูปแบบของคำสั่งจะอยู่ในรูป
     \begin\{name\}
      ...
     \end\{name\}

     การสร้างรายการแบบไม่มีลำดับ ลักษณะคำสั่ง
     \begin{itemize}
        \item รายการที่1
        ......
     \end{itemize} 

      การสร้างรายการแบบมีลำดับ ลักษณะคำสั่ง
       \begin{enumerate}
          \item รายการที่1
           ..........
       \end{enumerate}
      การสร้างรายการแบบกำหนดเอง ลักษณะคำสั่ง
      \begin{description}
         \item [PL1] รายการที่1
          ..........
     \end{description}

         การสร้างรายการซ้อนรายการ  การสร้างรายการซ้อนรายการ ทำได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่ที่เราจะกำหนดให้รายการแบบไหนก่อน นอกจากรายการแบบทั่วไปแล้ว ยังสามารถกำหนดรายการแบบสัญลักษณ์พิเศษได้



วันเสาร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2566

Tabulator stops หรือ แท็บ ใน LaTex

     ในหัวข้อที่แล้วได้กล่าวถึงการใช้คำสั่ง spaces หรือการเว้นวรรค ยังมีอีกคำสั่งเกี่ยวกับการวรรค คือ Tab ซึ่งมีลักษณะคำสั่ง ดังนี้
        
    \begin\{tabbing\}
    ......
    \end\{tabbing\}  



วันศุกร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2566

สีพื้นข้อความ Colored Box ใน LaTex

 กล่องข้อความ มีรูปแบบคำสั่ง ดังนี้
    \colorbox{ชื่อสี}{ข้อความ} 



วันพุธที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2566

ขนาดตัวอักษร รูปแบบและการใส่สีตัวอักษร ใน LaTex

  ในการพิมพ์เอกสาร ตำรา บางข้อความอาจมีความจำเป็นต้อง เพิ่ม หรือ ลด ขนาดของตัวอักษรในบางจุด เพื่อทำการเน้นข้อความให้เด่นชัด ซึ่งการสร้างเอกสารโดย LaTeX จะมีคำสั่งสำหรับระบุเพื่อใช้กำหนดขนาดของข้อความให้สัมพัทธ์กับขนาดปกติ รวมถึงคำสั่งในการใส่สีข้อความเพื่อเน้นคำ โดยที่คำสั่งระบุเพื่อกำหนดขนาดตัวอักษรเหล่านี้เป็นคำสั่งระบุแบบไม่ใช้ตัวแปร ซึ่งจะเรียงพิมพ์ด้วยคำสั่งนี้ไปจนกว่าจะหมดขอบเขตของข้อความ  หากเราต้องการจำกัดขอบเขตของคำสั่งระบุสามารถทำได้โดยใส่วงเล็บปีกกาครอบทั้งคำสั่งระบุและข้อความ เพื่อกำหนดขอบเขตบล็อกที่จะให้คำสั่งระบุนั้นมีผลในการเรียงพิมพ์ ลักษณะคำสั่งมีดังนี้ 

ตัวอย่าง  

ตามปกติแล้ว {\large ไฟฟ้า} จะไหลไปตามเส้นลวดที่เป็น {\LARGE ตัวนำไฟฟ้า} แล้วจะไหลติดต่อกันไปจนครบวงจร และถ้าหากส่วนใดส่วนหนึ่งของ ร่างกายไปแตะหรือสัมผัสเข้ากับวงจรไฟฟ้าทำให้ไฟฟ้าไหลผ่านได้ และร่างกายเราก็จะเป็นส่วนหนึ่งของ \LARGE วงจรไฟฟ้า \normalsize ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายหรือบาดเจ็บถึง ชีวิตได้ ซึ่งกระแสไฟฟ้าเพียงแค่ 10 mA หรือแรงดันไฟฟ้า 25 V ก็อาจทำให้เป็นอันตรายต่อชีวิต ค่าความต้านทานของร่างกายมนุษย์ จะมีค่าประมาณ 10,000 โอห์ม ถึง 50,000 โอห์ม

ผลลัพธ์ 

การทำตัวหนังสือตัวหนา ตัวเอียง และขีดเส้นใต้ ใน LaTex การทำตัวหนังสือหนา ตัวเอียง หรือขีดเส้นใต้คำ มีลักษณะการใช้คำสั่ง ดังต่อไปนี้