วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2558

ประวัติลูกเสือโลก


ประวัติลูกเสือโลก

       โรเบิร์ต สตีเฟนสัน สไมธ์ เบเดน-โพเอลล์ (Robert Stephenson Smyth Baden - Powell) เกิดในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1857 ตรงกับวันที่พวกอเมริกันฉลองวันเกิดของยอร์ช วอชิงตัน อายุครบรอบร้อยปี บิดาของท่านชื่อ Reverend H.G. Beden-Powell เป็นศาสตราจารย์ที่ออกซ์ฟอร์ด มารดาของท่านเป็นธิดาของพลเรือเอกดับ ที. สไมธ์ (W.T. Smyth) แห่งราชนาวีอังกฤษ ทวดของท่านคือ โจเซฟ บรูเออร์ สไมธ์ (Joseph Brewer Smyth) ได้อพยพไปอยู่อเมริกา ในนิวเจอร์ซี่แต่ได้เดินทางกลับไปอังกฤษและเรือแตกในระหว่างที่เดินทางกลับถึงบ้าน ฉะนั้นเบเดน-โพเอลล์ จึงเป็นผู้สืบสันดานผู้ที่เป็นพระสายหนึ่ง และของผู้อพยพที่กล้าผจญภัยในโลกใหม่อีกสายหนึ่ง
       ในปี ค.ศ. 1870 บี.พี. ได้เข้าเรียนในโรงเรียนชาร์ตเตอร์เฮาส์ในกรุงลอนดอน โดยได้รับทุนเล่าเรียน ท่านไม่ใช่คนเก่งทางหนังสือมากนัก แต่ทานก็เป็นคนที่สนุกสนานที่สุดคนหนึ่ง เมื่อมีอะไรในสนามของโรงเรียน ท่านจะอยู่ในกลุ่มนั้นเสมอ เล่ห์เหลี่ยมการซุ่มตามจับสัตว์ซึ่ง บี.พี.ได้ฝึกฝนทีในป่ารอบๆ โรงเรียนชาร์เตอร์เฮาส์

       พออายุ 19 ปี บี.พี. ก็จบจากโรงเรียน และยอมรับโอกาสที่จะไปอินเดียทันทีโดยได้รับยศเป็นร้อยตรีในกองทหาร ซึ่งอยู่ในปีกขวาของแถวทหารม้าที่บรรยายไว้ในคำกลอนที่มีชื่อเสียง "Charge of the Light Brigade" ในสงครามไครเมีย นอกจากจะได้ปฏิบัติหน้าที่ทางทหารอย่างดีเด่นแล้ว ท่านได้รับยศร้อยเอก เมื่อายุ 26 ปี ท่านยังได้รับรางวัลสำหรับการแข่งขันกีฬาทั่วประเทศอินเดียที่มีผู้อยากได้มากที่สุดคือ การแข่งขันแทงหมู "Pig sticking" ซึ่งเป็นการล่าหมูป่าบนหลังม้าโดยมีหอกสั้นเล่มเดียวเป็นอาวุธ ซึ่งอันตรายมากเพราะหมูป่าถูกให้คำนิยามว่าเป็น "สัตว์ชนิดเดียวเท่านั้นที่กล้ากินน้ำแห่งเดียวกับเสือ"
       ในปี ค.ศ. 1887 เราพบ บี.พี. ในแอฟริกามีส่วนร่วมในการรบกับพวกซูลู และในตอนหลังก็ได้รบกับพวก อาซันติ (Ashanti) ที่ดุร้าย และพวกมาตาบีลี (Matabele )ที่ป่าเถื่อน ชาวพื้นเมืองกลัวท่านมาก จนถึงกับตั้งชื่อท่านว่า "อิมปิซ่า" (Impeesa) แปลว่า "หมาป่าซึ่งไม่เคยหลับนอน" (The wolf that never sleeps) ทั้งนี้เพราะความกล้าหาญของท่าน และทักษะของท่านในการสอดแนมกับความสามารถอย่างมหัศจรรย์ของท่านในเรื่องการสะกดรอย การเลื่อนยศของท่าน แทบจะเป็นไปโดยอัตโนมัติ กล่าวคือ ท่านได้เลื่อนยศเป็นประจำ จนกระทั่งท่านได้ย่างเข้าสู่ความมีชื่อเสียงในทันทีทันใด เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1899 และ บี.พี. ได้
       ความยุ่งยากกำลังตั้งเค้าในแอฟริกาใต้ ความสำพันธ์ระหว่างอังกฤษกับรัฐบาลของทรานสวาลรีปับลิกได้ถึงจุดระเบิด เบเดน-โพเอลล์ ได้รับคำสั่งให้จัดทหารม้าถือปืน (Mounted rifles) สองกองพันและเดินทางไปที่มาฟอีคิง ซึ่งเป็นเมืองในใจกลางของแอฟริการใต้ "ผู้ใดยึดมาฟอีคิงไว้ได้ ผู้นั้นย่อมถือบังเหียนของแอฟริกาใต้" เป็นคำกล่าวของชาวพื้นเมืองซึ่งปรากฏว่าเป็นความจริง
        สงครามเกิดขึ้นและเป็นเวลา 217 วันตั้งแต่ 13 ตุลาคม ค.ศ. 1899 บี.พี. ได้รักษาเมืองมาฟอีคิง (mafeking) ให้พ้นจากเงื้อมมือของข้าศึก ซึ่งตั้งล้อมอยู่และมีจำนวนมากกว่าอย่างมากมายไว้ได้ จนกระทั้งในที่สุดกองทหารที่มาช่วยได้บุกเข้าไปช่วยเหลือเป็นผลสำเร็จ เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ.1900 บริเตนใหญ่รู้สึกอึดอัดใจตลอดระยะเวลานานเป็นเดือนๆ เหล่านี้ เมื่อในสุดมีข่าวว่า "มาฟอีคิง" พ้นจากการถูกล้อมแล้ว" คนอังกฤษก็ตื่นเต้นยินดีอย่างเป็นบ้า จนเป็นคำที่คนอังกฤษใช้กันเกี่ยวกับการเฉลิมฉลอง ในตอนนั้น บี.พี.ได้เลื่อนยศเป็นพลตรี และได้พบว่าตัวท่านเองได้รับการยกย่องให้เป็นวีรบุรุษในสายตาของเพื่อนร่วมชาติของท่าน
       บี.พี.ได้เดินทางกลับจากแอฟริกาใต้ไปอังกฤษ ใน ค.ศ.1901 ในฐานะวีระบุรุษของทั้งผู้ใหญ่และเด็ก ท่านได้รับเกียรติมากมายหลายประการ และได้ค้นพบด้วยความแปลกประหลาดใจว่า ความมีชื่อเสียงส่วนตัวของท่านได้ทำให้หนังสือของท่านที่แต่งไว้สำหรับการทหารชื่อ Aids to Scouting ได้พลอยมีชื่อเสียงไปด้วย มีผู้เอาหนังสือนั้นไปใช้เป็นแบบเรียนในโรงเรียนชายต่างๆ
       บี.พี.มองเห็นการท้าทายที่สำคัญในเรื่องนี้ ท่านหลับตามองเห็นโอกาสของท่านที่จะช่วยเด็กชายอังกฤษให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่แข็งแรง ถ้าหนังสือสำหรับผู้ใหญ่เกี่ยวกับการปฏิบัติในการสอดแนมเป็นที่ถูกใจเด็ก และเร้าใจเด็กก็เป็นของแน่ว่าหนังสือที่เขียนขึ้นสำหรับเด็กเอง ก็คงจะก่อให้เกิดผลที่กว้างขวางยิ่งขึ้น
       ท่านเริ่มทำงานโดยคิดดัดแปลงจากประสบการณ์ของท่านในอินเดีย และในแอฟริกาเมื่อท่านอยู่กับพวกซูลูและคนพื้นเมืองเผ่าอื่น ท่านจัดทำห้องสมุดพิเศษขึ้น และอ่านหนังสือเกี่ยวกับการฝึกอบรมเด็กทุกยุคทุกสมัย นับตั้งแต่เด็กสปาตานคนอังกฤษในสมัยโบราณ พวกอินเดียนแดง จนถึงสมัยเรา
       บี.พี.ได้พัฒนาความคิดเห็นในเรื่องการลูกเสืออย่างช้าๆ และด้วยความระมัดระวัง ท่านต้องการทำให้แน่ใจว่า ความคิดเห็นของท่านอาจนำมาใช้ได้ ในทางปฏิบัติ ดังนั้นในฤดูร้อนของปี ค.ศ. 1970 ท่านจึงรวบรวมเด็กยี่สิบคนให้ไปอยู่กับท่านที่เกาะบราวน์ซี (Brownsea) ในช่องแคบอังกฤษ ซึ่งนับว่าเป็นการอยู่ค่ายพักแรมของลูกเสือครั้งแรกซึ่งโลกได้เคยเห็นการอยู่ค่ายครั้งนี้ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม

       และแล้วในเดือนต้นๆ ของปี ค.ศ. 1908 (พ.ศ.2451) บี.พี. ได้จัดการพิมพ์หนังสือคู่มือการฝึกอบรมขึ้นโดยแบ่งเป็นหกตอนและจัดพิมพ์เป็นรายปักษ์ๆ ละตอน มีภาพประกอบซึ่งท่านเองเป็นผู้เขียน หนังสือนี้ชื่อ Scoutting for Boys บี.พี. ไม่ได้นึกฝันว่าหนังสือนี้จะทำให้เกิดกระบวนการซึ่งจะครอบคลุมเด็กชายทั่วโลก พอหนังสือเริ่มจะมีจำหน่ายตามร้านหนังสือ และที่จำหน่ายหนังสือพิมพ์ได้ไม่นาน หมู่และกองลูกเสือก็ตั้งต้นโผล่ขึ้น มิใช่เฉพาะที่อังกฤษแต่ในประเทศอื่นๆ อีกหลายประเทศ
       กระบวนการลูกเสือได้เติบโตขึ้นโดยลำดับ และในปี ค.ศ.1910 ได้เจริญขึ้นถึงขนาดที่ทำให้ บี.พี. หลับตาเห็นว่าการลูกเสือจะเป็นงานสำคัญที่สุดในชีวิตของท่าน ท่านได้มองเห็นด้วยสายตาอันไกลและมีความเชื่อมั่นว่า ท่านสามารถทำประโยชน์ให้แก่บ้านเมืองของท่านได้มากกว่า โดยการฝึกอบรมเด็กรุ่นหลังให้เป็นพลเมืองดี แทนที่จะไปเสียเวลาฝึกผู้ใหญ่สองสามคน สำหรับการรบพุ่งซึ่งอาจจะเกิดขึ้นในภายหน้า
       เมื่อคิดเช่นนั้นแล้ว บี.พี.จึงได้ลาออกจากกอลทัพบก ซึ่งท่านมียศเป็นพลโทและได้ย่างเข้าสู่ชีวิตที่สองของท่าน ซึ่งท่านใช้คำว่า "Second Life" อันเป็นชีวิตของท่านที่ให้บริการแก่โลกโดยการลูกเสือ ท่านได้เก็บเกี่ยวรางวัลของท่านซึ่งได้แก่ความเจริญก้าวหน้าของกระบวนการลูกเสือ และการที่เด็กทั่วโลกได้รักและนับถือท่าน
       ในปี ค.ศ.1912 บี.พี.ได้เดินทางรอบโลกเพื่อไปพบกับลูกเสือในประเทศต่างๆ เรื่องนี้เป็นจุดตั้งต้นของการลูกเสือที่จะเสริมสร้างความเป็นพี่น้องทั่วโลก สงครามโลกครั้งแรกได้ทำให้งานนี้หยุดชะงักลงชั่วขณะหนึ่ง แต่พอการรบพุ่งยุติลง งานนี้ก็เริ่มต้นใหม่ และในปีค.ศ. 1920 ลูกเสือจากทุกประเทศทั่วโลกก็ได้มาพบกันในกรุงลอนดอน เพื่อเข้าร่วมการชุมนุมลูกเสือระหว่างประเทศครั้งแรก กล่าวคือ เป็นการชุมนุมลูกเสือโลกครั้งแรก First World Jamboree
       ในคืนสุดท้ายของการชุมนุมครั้งนี้ ซึ่งตรงกับวันที่ 6 สิงหาคม บรรดาลูกเสือที่ได้ไปเข้าร่วมการชุมนุมได้โห่ร้อง ประกาศให้ บี.พี.ดำรงตำแหน่ง Chief Scout of the World ประมุขของคณะลูกเสือแห่งโลก
       กระบวนการลูกเสือมีความเจริญก้าวหน้าสืบต่อไป ในวันที่การลูกเสือมีอายุครบยี่สิบเอ็ดปี ซึ่งเป็นการบรรลุ "นิติภาวะ" ตามกฎหมายของอังกฤษปรากฏว่าบรรดาอารยประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้จัดให้มีกองลูกเสือและจำนวนลูกเสือก็ได้เพิ่มขึ้นเป็นสองล้านคนเศษ ในโอกาสนั้นพระเจ้ายอร์ชที่ 5 ได้พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้ บี.พี.เป็นบารอนและมีชื่อว่า Lord Baden Powell of Gilwell กระนั้นก็ดี สำหรับลูกเสือทุกคนท่านจะยังคงเป็น "บี.พี.ประมุขของคณะลูกเสือแห่งโลก"
       ในที่สุดภายหลังที่มีอายุครบแปดสิบปี กำลังของ บี.พี. ก็เริ่มจะทรุดลง ท่านได้กลับไปอยู่แอฟริกาที่ท่านรัก พร้อมด้วยภริยาของท่านคือ เลดี้ เบเดน โพเอลล์ ผู้ซึ่งเป็นประมุขของคณะลูกเสือหญิงแห่งโลกอันเป็นกระบวนการหนึ่ง เบเดน โพเอลล์ก็ได้เป็นผู้จัดตั้งขึ้น
       บี.พี. กับภริยาได้พำนักอยู่ในคีเนีย ( Kenya) ในสถานที่อันสงบ มองเห็นป่าเป็นระยะยาวหลายไมล์ไปจนถึงยอดภูเขาซึ่งมีหิมะปกคลุม ณ ที่นั้น บี.พี. ได้ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1941 และอีกเดือนเศษก็จะมีอายุครบ 84 ปีบริบูรณ์

ค.ศ. 1907 - มีการเข้าค่ายพักแรมลูกเสือเป็นครั้งแรก ที่เกาะบราวซี
ค.ศ. 1908 - หนังสือ Scoutting for Boys ตีพิมพ์ และเริ่มกำเนิดกองลูกเสือขึ้นในหลายประเทศ
ค.ศ. 1909 - จัดตั้งสำนักงานลูกเสืออังกฤษ และมีการชุมนุมลูกเสืออังกฤษเป็นครั้งแรก
ค.ศ. 1910 - จัดตั้งกองลูกเสือหญิง (Birl Guide) โดยมีแอกนีส น้องสาวของ บี.พี. เป็นหัวหน้า
ค.ศ. 1911 - จัดตั้งกองลูกเสือสมุทร
ค.ศ. 1912 - บี.พี. เดินทางไปเยี่ยมลูกเสือในประเทศต่าง ๆ รอบโลก
ค.ศ. 1914 - เกิดสงครามโลกครั้งแรก บี.พี. มอบลูกเสือให้ทำหน้าที่ช่วยทหาร เช่น รักษาสะพาน และสายโทรศัพท์ ทำหน้าที่ผู้สื่อข่าว ช่วยงานในโรงพยาบาล
ค.ศ. 1916 - จัดตั้งกองลูกเสือสำรอง
ค.ศ. 1918 - จัดตั้งกองลูกเสือวิสามัญ (Rover Scout)
ค.ศ. 1919 - ตั้งกิลเวลล์ปาร์ด (Gilwell Park) และเริ่มดำเนินการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือขั้นวูดแบดจ์
ค.ศ. 1920 - มีการชุมนุมลูกเสือโลกครั้งแรกที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และ บี.พี. ได้รับเลือกให้เป็นประมุขของคณะลูกสือโลก (Chief Scout of the World)
ค.ศ. 1922 - บี.พี. เขียนหนังสือ "Rovering to Success" หรือ "การท่องเที่ยวสู่ความสำเร็จ" ซึ่งเป็นคู่มือสำหรับลูกเสือวิสามัญ
ค.ศ. 1926 - จัดตั้งกองลูกเสือพิการ
ค.ศ. 1937 - บี.พี. ได้รับพระราชธานบรรดาศักดิ์เป็น Lord Baden Powell of Gilwell
ค.ศ. 1941 - บี.พี. ถึงแก่กรรมเมื่ออายุได้ 84 ปี


ที่มา http://pmsscout.igetweb.com/articles/432407/BP-บิดาแห่งลูกเสือโลก-และ-การกำเนิดของมวลหมู่ลูกเสือทั่วโลก.html
       http://www.panghud.ac.th/scout/index.php?option=com_content&view=article&id=3&Itemid=4
       http://www.scoutthailand.org/index.php?option=com_content&view=article&id=60&Itemid=77