การทดลอง(Try out) เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มทดลองที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง แต่มีลักษณะเช่นเดียวกับกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา ที่สำคัญกลุ่มทดลองดังกล่าวต้องมีความรู้หรือได้รับประสบการณ์ในเรื่องนั้นมาแล้ว เช่น ต้องการทดลองแบบวัดเจตคติหรือความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ นักเรียนที่ไปเป็นกลุ่มทดลองต้องเคยใช้เคยเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้มาแล้ว ถ้าต้องการทดลองแบบทดสอบ เรื่อง ระบบสมการ นักเรียนที่เป็นกลุ่มทดลองแบบทดสอบต้องเรียน เรื่องระบบสมการมาแล้ว
วิธีการทดสอบประสิทธิภาพ การใช้สูตร E1/ E2 สำหรับการทดสอบประสิทธิภาพของกระบวนการ (Process-E1) และทดสอบประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (Product-E2) ในขั้นทดลองใช้เบื้องต้น แบบเดี่ยว (1:1) ทดสอบกับผู้เรียน 1-3 คน โดยใช้เด็กอ่อน ปานกลาง และเด็กเก่ง, แบบกลุ่ม (1:10) ทดสอบกับผู้เรียน 6–10 คน (คละผู้เรียนที่เก่ง ปานกลางกับอ่อน) และแบบสนาม (1:100) ทดสอบกับผู้เรียนทั้งชั้น (ปกติให้ใช้กับผู้เรียน 30 คน แต่ในโรงเรียนขนาดเล็กอนุโลมให้ใช้กับนักเรียน 15 คนขึ้นไป) และการนำสื่อหรือชุดการสอนที่ทดสอบผ่านเกณฑ์ความก้าวหน้าทางการเรียน เกณฑ์ประสิทธิภาพ E1/E2ตามเกณฑ์ 90/90, 85/85 สำหรับวิทยพิสัยหรือพุทธิพิสัย, 80/80 และ 75/75 สำหรับทักษพิสัยและทักษพิสัยแล้ว แล้วไปทดลองใช้จริงในช่วงเวลาหนึ่งภาคการศึกษา เช่น
การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือ
ขั้นตอนการสร้างกิจกรรมการเรียนรู้บนเครือข่ายออนไลน์
1.1.........
1.2.........
1.3.........
1.4.........
1.5.........
1.6 นำกิจกรรมการเรียนรู้ไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเลิงแฝกประชาบำรุง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 3 คน ที่มีความสามารถต่างกันทั้งเก่ง ปานกลางและอ่อน ซึ่งเป็นกลุ่มนักเรียนที่เคยเรียนเนื้อหาที่กำลังศึกษามาแล้วแต่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง เพื่อตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสมของกิจกรรมการเรียนรู้บนเครือข่ายสังคมออนไลน์ เรื่องงานช่างพื้นฐาน ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ สำหรับนักเรียนชันมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่สร้างหรือพัฒนาขึ้นและนำผลมาแก้ไข
1.7 นำกิจกรรมการเรียนรู้จากข้อ 1.6 ที่ปรับปรุงและแก้ไขแล้ว ไปทดลองใช้กับนักเรียน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเลิงแฝกประชาบำรุง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 9 คน ที่มีความสามารถต่างกันทั้งเก่ง ปานกลาง และอ่อน ซึ่งเป็นกลุ่มนักเรียนที่เคยเรียนเนื้อหาที่กำลังศึกษามาแล้วแต่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง เพื่อตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสมของกิจกรรมการเรียนรู้บนเครือข่ายสังคมออนไลน์ เรื่องงานช่างพื้นฐาน ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่สร้างหรือพัฒนาขึ้นและนำผลมาแก้ไข
1.8 นำกิจกรรมการเรียนรู้จากข้อ 1.7 ที่ปรับปรุงและแก้ไขแล้ว ไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเลิงแฝกประชาบำรุง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 15 คน ซึ่งเป็นกลุ่มนักเรียนที่เคยเรียนเนื้อหาที่กำลังศึกษามาแล้วแต่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง เพื่อหาประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80 ของกิจกรรมการเรียนรู้บนเครือข่ายสังคมออนไลน์ เรื่องงานช่างพื้นฐาน ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และนำผลมาคำนวณ ซึ่งได้ค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 82.67/81.50
1.9.........
อ้างอิง
1.ธีรพงษ์ จันทรโสภณ. รายงานกิจกรรมการเรียนรู้บนเครือข่ายสังคมออนไลน์ เรื่องงานช่างพื้นฐาน ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ สำหรับนักเรียนชันมัธยมศึกษาปีที่ 2. 2558
2.https://www.gotoknow.org/posts/363102
3.ชัยยงค์ พรหมวงศ. การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2556)
4.นรินทร์ สังข์รักษา. การวิจัยและพัฒนาการศึกษา.พิมพ์ครั้งที่ 6 .โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร นครปฐม. 2557.