การเริ่มต้นเขียน LaTeX จะมี“โครงสร้าง” ของไฟล์สคริปต์ สำหรับการสร้างเอกสารวิชาการด้วย LaTeX แบ่งโครงสร้างของสคริปต์ออกเป็น 2 ส่วน คือ “ส่วนหัวเอกสาร” (preamble) และ “ส่วนตัวเอกสาร” (document body) ทั้งนี้ ข้อกำหนดต่างๆ อันเกี่ยวกับรูปแบบของเอกสาร จะประกาศไว้ในส่วนหัว ในขณะที่เนื้อหาของเอกสารทั้งหมด จะพิมพ์ใส่ไว้ในส่วนตัวของเอกสาร คำสั่งใน LaTeX จะขึ้นต้นด้วย \ เสมอ และการจบข้อความขึ้นบรรทัดใหม่จะใช้ \\ หรือใช้คำสั่ง \newline สำหรับคอมเมนต์อธิบายแต่ละคำสั่งจะใช้เครื่องหมาย %
ส่วนหัวของเอกสาร ประกอบด้วยประเภทของ class, option และการเรียกใช้ package ต่างๆ ในการอำนวยความสะดวกในการใช้งาน ลักษณะการใช้คำสั่ง
\documentclass [option] {class} %เป็นตัวกำหนดชนิดของเอกสารที่จะเขียน ซึ่ง classes
%ประกอบด้วย article, report, book,
% letter and slides [] Option parameter {} Required parameter
% option คือขนาดตัวหนังสือ ขนาดกระดาษ เช่น a4paper, a5paper,
%b5paper, executivepaper, legalpaper, letterpaper
ตัวอย่าง เช่น
\documentclass {article} %เป็นเอกสารชนิด บทความ
\documentclass [12pt] {article} %เป็นเอกสารชนิด บทความ ตัวหนังสือขนาด ่12 pt
\documentclass [12pt , a4paper] {article} %เป็นเอกสารชนิด บทความ ขนาด A4 ตัวหนังสือขนาด ่12 pt
ส่วนตัวของเอกสาร เนื้อหาทั้งหมดจะถูกเขียนให้อยู่ภายในคำสั่ง \begin {document} และ \end {document} ลักษณะคำสั่ง
\documentclass {article}
\begin {document}
.....
\end {document}
ตัวอย่าง เช่น
%เอกสารนี้ใช้คลาสที่ชื่อว่า report ซึ่งเป็นคลาส ตั้งค่าขนาดตัวอักษรตั้งต้น (base font size) ไว้ที่ 16pt และตั้งขนาดกระดาษเป็น A4
\documentclass[16pt,a4paper]{report}
%เป็นการเรียก package xelatex ภาษาไทย
\usepackage{xltxtra}
%ตัดคำภาษาไทย อาจเป็น ”th” หรือ ”th_TH”
\XeTeXlinebreaklocale ”th”
\XeTeXlinebreakskip = 0pt plus 1pt
%กำหนดฟอนต์หลักของเอกสาร Scale คือการปรับระยะระหว่างอักษรอังกฤษกับภาษาไทย
\setmainfont[Mapping=text-text, Scale=1.30]{TH SarabunPSK}
%เนื้อหา เปิดด้วย \begin{document} และปิดด้วย \end{document}
\begin{document}
\par เอกสารฉบับนี้จะเป็นการแนะนำการใช้งาน \LaTeX{} ซึ่งผู้เขียนได้ศึกษาด้วยตนเอง ผู้เขียนได้อ่านตำราภาษาอังกฤษหลายเล่มที่จัดพิมพ์ด้วย LaTeX แล้วทำให้
เกิดความสนใจอยากลองใช้งานดู ซึ่งหากใครมีพื้นฐานเรื่องภาษา HTML มาก่อน จะทำให้เข้าใจและเรียนรู้ LaTeX ได้ง่ายขึ้น
\end{document}
ผลลัพธ์
เอกสารฉบับนี้จะเป็นการแนะนำการใช้งาน L ATEX ซึ่งผู้เขียนได้ศึกษาด้วยตนเอง ผู้เขียนได้อ่านตำราภาษาอังกฤษหลายเล่มที่จัดพิมพ์ด้วย LaTeX แล้วทำให้เกิดความสนใจอยากลองใช้งานดู ซึ่งหากใครมีพื้นฐานเรื่องภาษา HTML มาก่อน จะทำให้เข้าใจและเรียนรู้ LaTeX ได้ง่ายขึ้น