วันอาทิตย์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

Boxes หรือ กล่องข้อความ การใช้งาน fancybox

 การสร้างกล่องข้อความใน LaTex สามารถสร้างให้ข้อความจัดชิดซ้าย ชิดขวา อยู่ข้างบน อยู่ข้างล่าง ของกล่องได้ ซึ่งใน LaTex จะมีกล่องข้อความหลายแบบ ในที่นี้จะขอยกตัวอย่าง 5 แบบ คือ LR boxes, Vertical shifting of LR boxes,Parboxes and minipages, paragraphboxes, and rule boxes. ความแตกต่างระหว่าง makebox กับ framebox คือ การ สร้างโดยคำสั่ง makebox จะไม่มีเส้นขอบ แต่ถ้าใช้คำสั่ง framebox จะมีเส้นขอบ นอกจากนี้ยังสามารถเรียกใช้งาน package ที่เกี่ยวกับกล่องข้อความได้ (ต้องติดตั้งเพิ่มเติมหากไม่มี) คือ fancybox ซึ่งจะมีลูกเล่นให้เลือกใช้ หรือหากศึกษาจนเข้าใจสามารถที่จะสร้างกล่องข้อความในรูปแบบต่างๆ ที่ต้องการได้ 





การใช้งาน fancybox

fancybox เป็น package ที่ถูกสร้างขึ้นมาให้ใช้งานเกี่ยวกับกล่องข้อความในลักษณะพิเศษ จะมี package ที่น่าสนใจ 2 package คือ amsmath และ fancybox ซึ่งจะต้องเรียนกใช้ งานในส่วนหัวของเอกสารก่อน

ลักษณะคำสั่ง

\documentclass{article}

\usepackage{amsmath} %

\usepackage{fancybox} %กล่องข้อความแบบแฟนซี shadowbox, doublebox, ovalbox, Ovalbox

\begin{document}

\shadowbox{ทดสอบข้อความ test}

\doublebox{ทดสอบข้อความ test test }

\ovalbox{ทดสอบข้อความ test test test }

\Ovalbox{ทดสอบข้อความ test}

\end{document} 




วันอาทิตย์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2566

การสร้างรายการ หรือ List ใน LaTex

      การสร้างรายการมีหลายแบบ เช่น ไม่มีลำดับ มีลำดับตัวเลข ลำดับที่กำหนดเอง เป็นต้น ซึ่งรูปแบบของคำสั่งจะอยู่ในรูป
     \begin\{name\}
      ...
     \end\{name\}

     การสร้างรายการแบบไม่มีลำดับ ลักษณะคำสั่ง
     \begin{itemize}
        \item รายการที่1
        ......
     \end{itemize} 

      การสร้างรายการแบบมีลำดับ ลักษณะคำสั่ง
       \begin{enumerate}
          \item รายการที่1
           ..........
       \end{enumerate}
      การสร้างรายการแบบกำหนดเอง ลักษณะคำสั่ง
      \begin{description}
         \item [PL1] รายการที่1
          ..........
     \end{description}

         การสร้างรายการซ้อนรายการ  การสร้างรายการซ้อนรายการ ทำได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่ที่เราจะกำหนดให้รายการแบบไหนก่อน นอกจากรายการแบบทั่วไปแล้ว ยังสามารถกำหนดรายการแบบสัญลักษณ์พิเศษได้



วันเสาร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2566

Tabulator stops หรือ แท็บ ใน LaTex

     ในหัวข้อที่แล้วได้กล่าวถึงการใช้คำสั่ง spaces หรือการเว้นวรรค ยังมีอีกคำสั่งเกี่ยวกับการวรรค คือ Tab ซึ่งมีลักษณะคำสั่ง ดังนี้
        
    \begin\{tabbing\}
    ......
    \end\{tabbing\}  



วันศุกร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2566

สีพื้นข้อความ Colored Box ใน LaTex

 กล่องข้อความ มีรูปแบบคำสั่ง ดังนี้
    \colorbox{ชื่อสี}{ข้อความ} 



วันพุธที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2566

ขนาดตัวอักษร รูปแบบและการใส่สีตัวอักษร ใน LaTex

  ในการพิมพ์เอกสาร ตำรา บางข้อความอาจมีความจำเป็นต้อง เพิ่ม หรือ ลด ขนาดของตัวอักษรในบางจุด เพื่อทำการเน้นข้อความให้เด่นชัด ซึ่งการสร้างเอกสารโดย LaTeX จะมีคำสั่งสำหรับระบุเพื่อใช้กำหนดขนาดของข้อความให้สัมพัทธ์กับขนาดปกติ รวมถึงคำสั่งในการใส่สีข้อความเพื่อเน้นคำ โดยที่คำสั่งระบุเพื่อกำหนดขนาดตัวอักษรเหล่านี้เป็นคำสั่งระบุแบบไม่ใช้ตัวแปร ซึ่งจะเรียงพิมพ์ด้วยคำสั่งนี้ไปจนกว่าจะหมดขอบเขตของข้อความ  หากเราต้องการจำกัดขอบเขตของคำสั่งระบุสามารถทำได้โดยใส่วงเล็บปีกกาครอบทั้งคำสั่งระบุและข้อความ เพื่อกำหนดขอบเขตบล็อกที่จะให้คำสั่งระบุนั้นมีผลในการเรียงพิมพ์ ลักษณะคำสั่งมีดังนี้ 

ตัวอย่าง  

ตามปกติแล้ว {\large ไฟฟ้า} จะไหลไปตามเส้นลวดที่เป็น {\LARGE ตัวนำไฟฟ้า} แล้วจะไหลติดต่อกันไปจนครบวงจร และถ้าหากส่วนใดส่วนหนึ่งของ ร่างกายไปแตะหรือสัมผัสเข้ากับวงจรไฟฟ้าทำให้ไฟฟ้าไหลผ่านได้ และร่างกายเราก็จะเป็นส่วนหนึ่งของ \LARGE วงจรไฟฟ้า \normalsize ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายหรือบาดเจ็บถึง ชีวิตได้ ซึ่งกระแสไฟฟ้าเพียงแค่ 10 mA หรือแรงดันไฟฟ้า 25 V ก็อาจทำให้เป็นอันตรายต่อชีวิต ค่าความต้านทานของร่างกายมนุษย์ จะมีค่าประมาณ 10,000 โอห์ม ถึง 50,000 โอห์ม

ผลลัพธ์ 

การทำตัวหนังสือตัวหนา ตัวเอียง และขีดเส้นใต้ ใน LaTex การทำตัวหนังสือหนา ตัวเอียง หรือขีดเส้นใต้คำ มีลักษณะการใช้คำสั่ง ดังต่อไปนี้
 


วันเสาร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2566

เริ่มต้นเขียน LaTeX

      การเริ่มต้นเขียน LaTeX จะมี“โครงสร้าง” ของไฟล์สคริปต์ สำหรับการสร้างเอกสารวิชาการด้วย LaTeX แบ่งโครงสร้างของสคริปต์ออกเป็น 2 ส่วน คือ “ส่วนหัวเอกสาร” (preamble) และ “ส่วนตัวเอกสาร” (document body) ทั้งนี้ ข้อกำหนดต่างๆ อันเกี่ยวกับรูปแบบของเอกสาร จะประกาศไว้ในส่วนหัว ในขณะที่เนื้อหาของเอกสารทั้งหมด จะพิมพ์ใส่ไว้ในส่วนตัวของเอกสาร คำสั่งใน LaTeX จะขึ้นต้นด้วย \ เสมอ และการจบข้อความขึ้นบรรทัดใหม่จะใช้ \\ หรือใช้คำสั่ง \newline  สำหรับคอมเมนต์อธิบายแต่ละคำสั่งจะใช้เครื่องหมาย %

ส่วนหัวของเอกสาร ประกอบด้วยประเภทของ class, option และการเรียกใช้ package ต่างๆ ในการอำนวยความสะดวกในการใช้งาน ลักษณะการใช้คำสั่ง

\documentclass [option] {class} %เป็นตัวกำหนดชนิดของเอกสารที่จะเขียน ซึ่ง classes 

                                              %ประกอบด้วย article, report, book,
                                            % letter and slides [] Option parameter {} Required parameter
                                          % option คือขนาดตัวหนังสือ ขนาดกระดาษ เช่น a4paper, a5paper, 

                                           %b5paper, executivepaper, legalpaper, letterpaper
                                            
ตัวอย่าง เช่น

\documentclass {article}                         %เป็นเอกสารชนิด บทความ
\documentclass [12pt] {article}               %เป็นเอกสารชนิด บทความ ตัวหนังสือขนาด ่12 pt
\documentclass [12pt , a4paper] {article} %เป็นเอกสารชนิด บทความ ขนาด A4 ตัวหนังสือขนาด ่12 pt

ส่วนตัวของเอกสาร เนื้อหาทั้งหมดจะถูกเขียนให้อยู่ภายในคำสั่ง \begin {document} และ \end {document} ลักษณะคำสั่ง

\documentclass {article}
\begin {document}
.....
\end {document}

ตัวอย่าง เช่น

%เอกสารนี้ใช้คลาสที่ชื่อว่า report ซึ่งเป็นคลาส ตั้งค่าขนาดตัวอักษรตั้งต้น (base font size) ไว้ที่ 16pt และตั้งขนาดกระดาษเป็น A4
\documentclass[16pt,a4paper]{report}
%เป็นการเรียก package xelatex ภาษาไทย
\usepackage{xltxtra}
%ตัดคำภาษาไทย อาจเป็น ”th” หรือ ”th_TH”
\XeTeXlinebreaklocale ”th”
\XeTeXlinebreakskip = 0pt plus 1pt
%กำหนดฟอนต์หลักของเอกสาร Scale คือการปรับระยะระหว่างอักษรอังกฤษกับภาษาไทย
\setmainfont[Mapping=text-text, Scale=1.30]{TH SarabunPSK}
%เนื้อหา เปิดด้วย \begin{document} และปิดด้วย \end{document}

\begin{document}
\par เอกสารฉบับนี้จะเป็นการแนะนำการใช้งาน \LaTeX{} ซึ่งผู้เขียนได้ศึกษาด้วยตนเอง ผู้เขียนได้อ่านตำราภาษาอังกฤษหลายเล่มที่จัดพิมพ์ด้วย LaTeX แล้วทำให้
เกิดความสนใจอยากลองใช้งานดู ซึ่งหากใครมีพื้นฐานเรื่องภาษา HTML มาก่อน จะทำให้เข้าใจและเรียนรู้ LaTeX ได้ง่ายขึ้น
\end{document}

ผลลัพธ์

         เอกสารฉบับนี้จะเป็นการแนะนำการใช้งาน L ATEX ซึ่งผู้เขียนได้ศึกษาด้วยตนเอง ผู้เขียนได้อ่านตำราภาษาอังกฤษหลายเล่มที่จัดพิมพ์ด้วย LaTeX แล้วทำให้เกิดความสนใจอยากลองใช้งานดู ซึ่งหากใครมีพื้นฐานเรื่องภาษา HTML มาก่อน จะทำให้เข้าใจและเรียนรู้ LaTeX ได้ง่ายขึ้น

 

วันพุธที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2566

หัดเล่น LaTex

           ไม่ได้อัพเดทบล็อกนาน ตอนนี้กำลังศึกษาการใช้งาน LaTex ซึ่งเป็นโปรแกรมเกี่ยวกับที่ใช้ในการจัดเรียงเอกสารและสร้างสูตรทางคณิตศาสตร์ ลักษณะการสร้างเอกสารโดย LaTex นี้ก็จะคล้ายกับการสร้างเว็บเพจด้วยภาษา HTML แต่ต่างกันที่ ก่อนจะได้เอกสารที่ต้องการ ต้องผ่านการคอมไพล์ก่อน (ปกติจะได้ไฟล์ filename.dvi) ซึ่งเอกสารที่ได้รับความนิยมจะอยู่ในรูปไฟล์ pdf  หากใครเคยศึกษาภาษา HTML มาก่อน จะเรียนรู้และเข้าใจ LaTex ได้ง่าย 

          -TeX: เป็นระบบมาโครที่ LaTeX พัฒนาต่อขึ้นมาอีกที เพื่อให้มนุษย์ธรรมดาใช้งาน TeX สร้างเอกสารได้ง่ายขึ้น

          -Engine: เป็นคอมไพเลอร์ หรือก็คือโปรแกรมที่จะทำหน้าที่คอมไพล์เอกสารของเรา

          -Package: ซอฟต์แวร์ที่เป็นส่วนเสริม เอาไว้เพิ่มความสามารถ เช่น ใส่กราฟ ทำตาราง

          -Distribution: ขอแปลว่า “ชุดซอฟต์แวร์” ก็แล้วกัน เป็นชุดซอฟต์แวร์ที่มีเอนจิ้นและแพคเกจพื้นฐานต่างๆ ในการทำงานกับ TeX มาให้

       โปรแกรม (Editor) ที่ใช้สร้างไฟล์สำหรับ Latex เลือกใช้ตามต้องการ ในส่วนของผู้เขียนเลือกใช้ TeXstudio

1.TeXstudio เป็นโปรแกรมแก้ไข LaTeX แบบโอเพ่นซอร์สข้ามแพลตฟอร์ม ฟีเจอร์นี้รวมถึงตัวตรวจการสะกดแบบโต้ตอบ การพับโค้ด และการเน้นไวยากรณ์ ไม่มี LaTeX เอง

การติดตั้ง TeXstudio  https://www.texstudio.org/

 

2.การติดตั้งโปรแกรม MikTeX  และ TexMaker

https://schaidee.files.wordpress.com/2015/05/latex2-9-installation-manual.pdf

 

3.ติดตั้ง latex ประกอบด้วย miktex และ texstudio

https://www.youtube.com/watch?v=ZQ5Gv6DxMuA

วันอังคารที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2566

วันหมดอายุ / ควรบริโภคก่อน แตกต่างกันอย่างไร

ว่าด้วยเรื่องฉลากที่อยู่บนซองอาหาร ขนมต่างๆ นอกจาก วัน เดือน ปี ที่ผลิตแล้ว ยังมี วันหมดอายุ และ/หรือ ควรบริโภคก่อนวันที่ ซึ่งมีตัวย่อและความหมายดังนี้

 MFG / MFD (Manufacturing date / Manufactured Date) หมายถึง วันที่ผลิต

 EXP / EXD (Expiry Date / Expiration Date) หมายถึง วันหมดอายุ

 BBF, BB / BBE (Best Before / Best Before End) หมายถึง ควรบริโภคก่อนวันที่

 วันหมดอายุ / ควรบริโภคก่อน แตกต่างกันอย่างไร

           EXP/EXD วันหมดอายุ หมายถึงเป็นวันที่บ่งบอกถึงวันที่อาหารหมดอายุหลังจากวันนั้นไม่ควรเอาอาหารนั้นมารับประทาน เพราะหลังจากวันนั้นเป็นต้นไป อาหารก็จะเริ่มบูดหรือเน่าเสีย ฉะนั้นจึงไม่ควรที่จะรับประทานอาหารหลังจากวันที่กำหนดว่าหมดอายุแล้ว ควรทิ้ง

           BBF, BB / BBE ควรบริโภคก่อน หมายถึง เป็นวันที่บ่งบอกว่าอาหารนั้นยังคงมีคุณภาพและมีรสชาติที่ดีเหมือนเดิมจนถึงวันที่ระบุไว้ยังคงคุณค่าทางอาหารครบถ้วน แต่หลังจากวันนั้นไปรสชาติ คุณภาพและคุณค่าทางอาหารจะลดลง ยังคงสามารถบริโภคได้โดยไม่มีอันตราย แต่อาจไม่ได้ประโยชน์จากอาหารนั้นตามที่ระบุไว้บนฉลากอาหารได้