วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

วันคล้ายวันสวรรคต ร.6 (วันวชิราวุธ)

วันวชิราวุธ วันสำคัญกับวงการลูกเสือไทย
    ในวันที่ 25 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็นวันสำคัญที่เกี่ยวข้องกับข้าราชการไทยและลูกเสือไทย ซึ่งเป็นวันที่กำหนดขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ผู้ทรงริเริ่มกิจการลูกเสือในประเทศไทย

ความเป็นมาของวันวชิราวุธ
    วันวชิราวุธ ถูกำหนดให้ตรงกับวันที่ 25 พฤศจิกายน ของทุกปี เนื่องด้วยเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ซึ่งพระองค์ทรงประกอบพระราชกรณียกิจสำคัญๆ และเป็นประโยยชน์ต่อประชาชนชาวไทยเป็นอย่างมาก
    ทั้งนี้พระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถหลากหลายด้าน ทั้งด้านคมนาคม การปกครอง ศิลปวัฒนธรรม วรรณคดี และที่เรารู้จักกันตั้งแต่เด็ก คือ พระองค์ทรงเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งกิจการเสือป่าและลูกเสือ เพื่อฝึกให้ประชาชนมีความรู้ ความสามารถในการป้องกันตัวเอง ดูแลตัวเองในหมู่บ้านหรือชุมชนตนเองได้ ด้วยเหตุนี้จึงได้กำหนดให้วันที่ 25 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็นวันวชิราวุธ อีกทั้งภายหลังได้มีหลักฐานว่า วันสวรรคตแท้จริงตรงกับเช้ามืดช่วงตี 1 ของวันที่ 26 พฤศจิกายน แต่ทางราชการยังคงถือให้วันที่ 25 พฤศจิกายน เป็นวันวชิราวุธตามเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

สัญญาณแตรหรือนกหวีด

    เมื่อลูกเสืออยู่รวมกันในกรณีพิเศษหลายกองอยู่ปะปนกับประชาชน หรือเมื่อไปเดินทางไกลและอยู่ค่ายพักแรมแต่ลำพัง หน่วยลูกเสือต่างๆ ที่มาร่วมกันหรือกองลูกเสืออาจจัดให้ใช้สัญญาณแตรเดี่ยวขึ้นได้ ในการนี้ให้ใช้สัญญาณแตรเดี่ยวของลูกเสือตามระบุไว้แล้วในคู่มือสัญญาณแตรเดี่ยวของลูกเสือ
    สำหรับการฝึกประจำวันก็ดี ในโอกาสที่อยู่ห่างไกลจากลูกเสือก็ดี ผู้บังคับบัญชาลูกเสืออาจใช้สัญญาณนกหวีดบังคับแถวลูกเสือ ดังนี้
      1. สัญญาณหยุดหรือฟัง ลักษณะ เสียงหวีดยาว 1 ครั้ง “ หวีด”(___) เป็นสัญญาณให้ลูกเสือหยุดกระทำการใด ๆ หรือเตรียมตัวคอยฟังคำสั่งที่ผู้กำกับลูกเสือจะสั่งต่อไป
      2. สัญญาณทำต่อไป เสียงหวีดยาว 2 ครั้ง “ หวีด หวีด” (___ ___) เป็นสัญญาณให้ลูกเสือทำงานต่อ เดินต่อไปหรือเคลื่อนที่ต่อไป
      3. สัญญาณเกิดเหตุ เสียงหวีดสั้น 1 ครั้ง ยาว 1 ครั้งสลับกันไปหลาย ๆ ครั้ง “ วิด… หวีด” “ วิด… หวีด” “ วิด… หวีด”( _ ___) เป็นสัญญาณให้ลูกเสือระวังตัวเพราะเกิดเหตุฉุกเฉินหรือเกิดเหตุร้ายขึ้น
      4. สัญญาณรวมกอง เสียงหวีดสั้นติดกันหลาย ๆ ครั้ง “ วิด… วิด.. วิด” (_ _ _ _ _) เป็นสัญญาณให้ลูกเสือรวมกอง หรือมาประชุม
      5. สัญญาณเรียกนายหมู่ เสียงหวีดสั้น 3 ครั้งยาว 1 ครั้ง สลับกันไป “ วิด… วิด… วิด… หวีด, วิด… วิด… วิด… หวีด, วิด… วิด… วิด… หวีด” ( _ _ _ ___ ) เป็นสัญญาณให้นายหมู่หรือรองนายหมู่ไปหาผู้ให้สัญญาณเพื่อรอรับคำสั่ง
     
    หมายเหตุ เมื่อจะใช้สัญญาณตามข้อ 2,3, 4 และ 5 จะต้องใช้สัญญาณในข้อ 1 ก่อน ทุกครั้ง

ที่มา http://krusathien.bmk2.net/nok_veed/nok_veed.htm
        https://sites.google.com/site/ftcscouts/kar-chi-sayyan-nkhwid
        เอกสารประกอบการผู้บังคับบัญชาลูกเสือเพื่อพัฒนาทักษะด้านระเบียบแถวลูกเสือ

วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เครื่องหมายตำแหน่งผู้บังคับบัญชาลูกเสือ

1.พื้นสีธงชาติ พระประมุขคณะลูกเสือแห่งชาติ
2.พื้นสีม่วง ขอบสีธงชาติ สภานายก, อุปนายก, กรรมการ, สภานายกกิตติมศักดิ์, อุปนายกกิตติมศักดิ์และกรรมการกิตติมศักดิ์แห่งสภาลูกเสือแห่งชาติ, ประธาน, รองประธาน, กรรมการแห่งสภาลูกเสือแห่งชาติ, ผู้อำนวยการใหญ่, รองผู้อำนวยการใหญ่, ผู้ช่วยอำนวยการใหญ่, ผู้ตรวจการใหญ่พิเศษ, ผู้ตรวจการใหญ่, รองผู้ตรวจการใหญ่, ผู้ตรวจการลูกเสือ, รองผู้ตรวจการลูกเสือ,ผู้ช่วยผู้ตรวจการลูกเสือประจำสำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ

วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การทดสอบ One Sample t Test ด้วย SPSS

     t-test คือการเปรียบเทียบความแตกต่างของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ค่าเฉลี่ยมาเป็นตัวเปรียบเทียบ หรือกรณีกลุ่มตัวอย่างหนึ่งกลุ่ม ใช้ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่างกับประชากร  การทดสอบค่าเฉลี่ยของประชากรกลุ่มเดียว เราเรียกว่า one - sample t-test
    The t distribution provides a good way to perform one sample tests on the mean when the population variance is not known provided the population is normal or the sample is sufficiently large so that the Central Limit Theorem applies
    ตัวอย่าง โปรแกรมลดน้ำหนักอ้างว่ามีประสิทธิภาพในการลดน้ำหนัก โดยใช้ผู้ทดลอง า 12 คนเข้าคอร์สลดน้ำหนัก โดยมีการบันทึกน้ำหนักไว้หลังจาก 2 ปี จงคำนวณหาประสิทธิภาพของโปรแกรมลดนำหนัก ข้อมูลดังรูป

วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การทดสอบ One Sample t Test ด้วย MiniTab

    One Sample t-test คือการเปรียบเทียบความแตกต่างของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ค่าเฉลี่ยมาเป็นตัวเปรียบเทียบ หรือใช้ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่างกับประชากร  หรือการทดสอบเกี่ยวกับค่าเฉลี่ยของประชากรกลุ่มเดียว หรือทรีตเมนต์เดียว เป็นการทดสอบว่าค่าเฉลี่ยของประชากรนั้นแตกต่างจากค่าเฉลี่ยที่กำหนดไว้ในสมมติฐานอย่างมีนัยสำคัญหรือไม่
    The t distribution provides a good way to perform one sample tests on the mean when the population variance is not known provided the population is normal or the sample is sufficiently large so that the Central Limit Theorem applies
    ตัวอย่าง โปรแกรมลดน้ำหนักอ้างว่ามีประสิทธิภาพในการลดน้ำหนัก โดยใช้ผู้ทดลอง 12 คนเข้าคอร์สลดน้ำหนัก โดยมีการบันทึกน้ำหนักไว้หลังจาก 2 ปี จงคำนวณหาประสิทธิภาพของโปรแกรมลดนำหนัก ข้อมูลดังรูป

วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การทดสอบการแจกแจงแบบปกติ (Normal Distribution) ด้วย MiniTAB

    สมมติว่ามีข้อมูลอยู่ 1 ชุด คือชุด A (เช่นคะแนนสอบ) เราจำเป็นต้องทำการทดสอบการแจกแจงของข้อมูลก่อนว่ามีการแจกแจงแบบปกติหรือไม่ เพื่อเลือกสถิติที่จะใช้ในการทดสอบข้อมูลต่อไป สำหรับการทดสอบว่าข้อมูลมีการแจกแจงแบบปกติ หรือแจกแจงไม่ปกติ
    ตัวอย่าง มีคะแนนสอบอยู่ชุดหนึ่ง ได้แก่ 28 29 32 30 37 34 39 25 30 35 33 35 37 ต้องการทราบว่าข้อมูลมีการแจกแจงแบบปกติหรือไม่
    1.เปิดโปรแกรม MiniTAB ขึ้นมาแล้วทำการป้อนข้อมูลลงไป

วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การทดสอบการแจกแจงแบบปกติ (Normal Distribution) ด้วย SPSS

    สมมติว่ามีข้อมูลอยู่ 1 ชุด (เช่นคะแนนสอบ) เราจำเป็นต้องทำการทดสอบการแจกแจงของข้อมูลก่อนว่ามีการแจกแจงแบบปกติหรือไม่ เพื่อเลือกสถิติที่จะใช้ในการทดสอบข้อมูลต่อไป สำหรับการทดสอบว่าข้อมูลมีการแจกแจงแบบปกติ หรือแจกแจงไม่ปกตินั้น สามารถทดสอบด้วยสถิติ Kolmogorov-Smirnov Test หรือ Shapiro-Wilk W test
    หมายเหตุ Kolmogorov-Smirnov Test (K-S Test) จะใช้เมื่อข้อมูลมีมากว่า 50 case และ Shapiro-Wilk Test จะใช้เมื่อมีข้อมูลน้อยกว่า 50 case

    การวิเคราะห์ กำหนดให้  H0 (Null Hypothesis) : มีการแจกแจงแบบปกติ
                                    H1 (Alternative Hypothesis) : ไม่มีการแจกแจงแบบปกติ
        สถิติ Kolmogorov-Smirnov ค่า Sig. ต้องมากกว่าค่าระดับนัยสำคัญแอลฟา แสดงว่ายอมรับสมมติฐานหลัก H0 ข้อมูลมีการแจกแจงแบบปกติ
        สถิติ Shapiro-Wilk Test ค่า Sig. ต้องมากกว่าค่าระดับนัยสำคัญแอลฟา แสดงว่ายอมรับสมมติฐานหลัก H0 ข้อมูลมีการแจกแจงแบบปกติ
    ตัวอย่าง มีคะแนนสอบอยู่ชุดหนึ่ง ได้แก่ 28 29 32 30 37 34 39 25 30 35 33 35 37 ต้องการทราบว่าข้อมูลมีการแจกแจงแบบปกติหรือไม่
      ทดสอบด้วยสมมติฐาน
          H0 (Null Hypothesis) : มีการแจกแจงแบบปกติ
          H1 (Alternative Hypothesis) : มีการแจกแจงแบบไม่ปกติ
    1.เปิดโปรแกรม SPSS ขึ้นมาแล้วทำการป้อนข้อมูลลงไป

วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) แบบวิธีแบ่งครึ่ง (Split Half Method) ด้วย SPSS

    วิธีแบบแบ่งครึ่งฉบับ (Split-half Method)    เป็นการหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบโดยนำแบบทดสอบไปสอบครั้งเดียวกับกลุ่มตัวอย่าง นำผลการวัดที่ได้มาแบ่งครึ่งหรือแบ่งเป็นสองส่วนแล้วหาความสัมพันธ์กันโดยใช้สูตรของเพียร์สัน แล้วทำการปรับขยายให้เป็นค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบเต็มฉบับโดยใช้สูตรของ สเปียร์แมนบราวน์
    Example 1: นักเรียน12 คน ทำแบบทดสอบจำนวน 50 ข้อ โดยนักเรียนแต่ละคนทำคะแนนได้ดังตาราง (คะแนนรวม คะแนนข้อคู่ คะแนนข้อคี่) ให้หาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบด้วยวิธี split-half methodology.

วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การสร้างเมนู ในหน้าบล็อกของ Blogspot

1. คลิกที่ หน้าเว็บ จากนั้นทำการสร้างเมนูโดยคลิกไปที่ หน้าเว็บใหม่
2.ตรงหน้าเว็บ ตั้งชื่อเมนูตามต้องการ ตรงพื้นที่ว่า เขียนข้อความตามต้องการ เสร็จแล้วกด เผยแพร่

วันเสาร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2558

การใช้ SPSS คำนวณหา Interquartile


1.เปิดโปรแกรม SPSS ขึ้นมา ไปที่แท็บ Variable view ตั้งชื่อตัวแปร (Name) และชนิดของตัวแปร (Type) ตามรูป

2.ทำการป้อนข้อมูลลงไป คำถามเป็นแบบมาตรประมาณค่า (Rating Scale) 1-5 มี 4 ข้อ คือ a b c d

วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2558

การใช้ MiniTab คำนวณหา Interquartile



            แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า (Rating Scale)  5 5ะดับ มีจำนวน 4 ข้อคำถาม มีกลุ่มตัวอย่าง 5 คน
            ที่ Worksheet คลิกขวาที่คอลัมน์ C1-->Format Column-->Text เพื่อกำหนดให้คอลัมน์ C1 รับข้อมูลชนิดเป็นเท็กซ์ไฟล์ ดังรูป


            ที่คอลัมน์ C2 ถ้าต้องการป้อนข้อมูลเป็นตัวเลขสามารถป้อนได้เลย แต่ถ้าต้องการกำหนดรูปแบบของตัวเลขให้คลิกขวาที่ C2-->Format Column-->Numeric ดังรูป

วันเสาร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2558

การวิเคราะห์ความถี่และร้อยละ ด้วย MiniTab

    สถิติเชิงพรรณา (Descriptive Statistics) เป็นสถิติที่ใช้ในการสรุปลักษณะของประชากรหรือกลุ่มตัวอย่างประเภท ความถี่ ร้อยละ ค่ากลาง (ค่าเฉลี่ย (mean) ค่ามัธยฐาน (median) ค่าฐานนิยม (mode)) ค่าการกระจาย (ค่าความแปรปรวน (varian) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) ฯลฯ)
    ตัวอย่าง การสำรวจส่วนสูงของนักเรียนจำนวน 40 คน มีค่าดังนี้
    150    150    151    152    153    153    153    154    154    155
    157    157    157    157    157    158    158    159    159    160
    160    160    160    161    162    163    163    164    165    165
    165    166    167    167    167    168    168    168    169    170
    จงหาค่าความถี่และร้อยละ

    1.เตรียมข้อมูลใน Excel หรือป้อนข้อมูลลงใน Minitab ใน Worksheet ตั้งชื่อตัวแปร hight ชนิด Numeric

วันเสาร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2558

การวิเคราะห์ความถี่และร้อยละ ด้วย spss

    สถิติเชิงพรรณา (Descriptive Statistics) เป็นสถิติที่ใช้ในการสรุปลักษณะของประชากรหรือกลุ่มตัวอย่างประเภท ความถี่ ร้อยละ ค่ากลาง (ค่าเฉลี่ย (mean) ค่ามัธยฐาน (median) ค่าฐานนิยม (mode)) ค่าการกระจาย (ค่าความแปรปรวน (variant) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) ฯลฯ)
    ตัวอย่าง ต้องการสำรวจอาชีพและรายได้ของกลุ่มตัวอย่าง 20 คน โดยคำถามเป็นดังนี้
    ท่านประกอบอาชีพอะไร
        1.นักเรียน        2.รับราชการ
        3.รัฐวิสาหกิจ        4.ธุรกิจส่วนตัว
        5.พนักงานเอกชน    6.แม่บ้าน

    1.เตรียมข้อมูลในโปรแกรม Excel (เพื่อความสะดวก) และทำการลงข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถาม

วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558

Cronbach's Alpha using SPSS

การหาค่าความเชื่อมั่นแบบครอนบาคโดยใช้โปรแกรม SPSS (Cronbach's Alpha using SPSS)

    การหาค่าความเชื่อมั่นแบบครอนบาค ใช้ในแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ การคำนวณด้วยโปรแกรม SPSS มีวิธีการดังนี้
    ตัวอย่าง การหาค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมินความพึงพอใจ มีข้อคำถามจำนวน 20 ข้อ มีผู้ตอบคำถาม 30 คน โดยคำถามเป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับของ Likert จากน้อยที่สุด ถึง มากที่สุด
    1.เตรียมข้อมูลในโปรแกรม Excel (เพื่อความสะดวก) โดยตั้งชื่อข้อคำถาม no1 no2 จนถึง no20 และทำการลงคะแนนที่ได้จากแบบสอบถาม
    2.เปิดโปรแกรมSPSS ขึ้นมาแล้วคัดลอกข้อมูลไปวางใน worksheet ดังรูป

วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Cronbach's alpha using Minitab

การหาค่าความเชื่อมั่นแบบครอนบาคโดยใช้โปรแกรม Minitab (Cronbach's alpha using Minitab)
    การหาค่าความเชื่อมั่นแบบครอนบาค ใช้ในแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ การคำนวณด้วยโปรแกรม Minitab มีวิธีการดังนี้
    ตัวอย่าง การหาค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมินความพึงพอใจ มีข้อคำถามจำนวน 20 ข้อ มีผู้ตอบคำถาม 30 คน โดยคำถามเป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับของ Likert จากน้อยที่สุด ถึง มากที่สุด
    1.เตรียมข้อมูลในโปรแกรม Excel (เพื่อความสะดวก) โดยตั้งชื่อข้อคำถาม no1 no2 จนถึง no20 และทำการลงคะแนนที่ได้จากแบบสอบถาม
    2.เปิดโปรแกรม Minitab ขึ้นมาแล้วคัดลอกข้อมูลไปวางใน worksheet ดังรูป

วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2558

วิธีโหลด Video jw player ด้วย Firefox

    การโหลดวิดีโอ jw player ด้วย Firefox ง่ายๆ ไม่ต้องติดตั้งส่วนเสริม ไม่ต้องดาวน์โหลดอะไรต่อมิอะไรมาติดตั้งให้ยุ่งยาก มีขั้นตอนการทำ ดังนี้
    1.ไปที่เมนู Tools-->Add-ons

วันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การทำ Menu ScrollBar ใน Blogspot

    เมนูแบบ Scroll bar เป็นเมนูที่เหมาะสำหรับรายการ ( list ) ที่มีความยาวมากๆ เพื่อเป็นการประหยัดเนื้อที่หน้าบล็อกของเรา
    มีขั้นตอนการสร้าง ดังนี้
    1.ไปที่ แผงควบคุม-->รูปแบบ-->เพิ่ม Gadget-->HTML/จาวาสคริปต์  กดเพิ่ม

วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2558

วุฒิ A.T.C.ผู้นำ ต่างกับวุฒิ A.T.C.ตามประเภทของลูกเสือ

หลักสูตรผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ระดับผู้นำ ขั้นความรู้ชั้นสูง หรือ (A.T.C. ผู้นำ)
    มีวัตถุประสงค์ เพื่ออบรมให้ผู้บริหารการศึกษา ระดับรองผู้อำนวยการขึ้นไป หรือผู้บริหารในหน่วยงานของทางราชการ ซึ่งมิใช่ระดับปฏิบัติการ (โดยเฉพาะครูผู้สอน สายปฏิบัติการ แต่ก็อนุโลมได้) ได้รู้ เข้าใจ หลักการ วิธีการกระบวนการลูกเสือ และจะได้ให้การสนับสนุนกิจการลูกเสือต่อไป การฝึกอบรมจะเป็นไปในลักษณะกว้าง แค่รู้ลักษณะ ของลูกเสือแต่ละประเภท พอสังเขป เพียงแต่พอเข้าใจ ทักษะทางลูกเสือพอประมาณ
    A.T.C. ผู้นำ เมื่อผ่านการฝึกอบรม จะได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยผู้ตรวจการ ประจำสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ ให้การสนับสนุนกิจการลูกเสือ ตามที่หน่วยงานหรือกองลูกเสือต้องการ และไม่สามารถรับการแต่งตั้งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิสำหรับประเมินขั้นที่ 5 ได้
    เกณฑ์การประเมินผลและรายละเอียดข้อมูลดำเนินการตรวจขั้นที่  5
        สอบสัมภาษณ์โดยตรงกับผู้ทรงคุณวุฒิจาก สนง.คณะลูกเสือแห่งชาติ กำหนดให้ 20 ข้อ เลือกตอบเพียง 10 ข้อ   เพื่อให้เป็นที่แน่ใจว่าผู้ปฏิบัติการนั้น มีความเข้าใจในเรื่องต่อไปนี้ ชัดเจนเพียงใด  มี 5 ข้อที่บังคับ คือ
        1.เรื่องเกี่ยวกับสำนักงานคณะกรรมการบริหารฯหรือกองลูกเสือ
        2.พระราชบัญญัติลูกเสือ
        3.ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ
        4.กฏกระทรวงว่าด้วยเครื่องแบบลูกเสือ
        5.คำปฏิญาณ และกฏ
 
หลักสูตรวิชาผู้กำกับลูกเสือ (ประเภทสำรอง สามัญ สามัญรุ่นใหญ่ วิสามัญ) ขั้นความรู้ชั้นสูง (A.T.C.)

วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ข้อบังคับว่าด้วยการแต่งตั้งผู้บังคับบัญชาลูกเสือ พ.ศ.2553

                            ข้อบังคับคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ
                               ว่าด้วยการแต่งตั้งผู้บังคับบัญชาลูกเสือ
                                                 พ.ศ.2553

    อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 17 (7) และมาตรา 46 วรรคสี่  แห่งพระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. 2551 ประกอบกับมติคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 1/2553  เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2553 คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ จึงออกข้อบังคับคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการแต่งตั้งผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ไว้ดังต่อไปนี้
    ข้อ 1 ข้อบังคับนี้เรียกว่า "ข้อบังคับคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการแต่งตั้งผู้บังคับบัญชาลูกเสือ พ.ศ. 2553"
    ข้อ 2 ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
    ข้อ 3 ให้ยกเลิกข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครองหลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือ พ.ศ. 2509 ในส่วนที่เกี่ยวกับการแต่งตั้งผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ตามข้อบังคับนี้
    ข้อ 4 ในข้อบังคับนี้ "ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ" หมายความว่า ผู้อำนวยการลูกเสือโรงเรียน รองผู้อำนวยการลูกเสือโรงเรียน ผู้กำกับกลุ่มลูกเสือ รองผู้กำกับกลุ่มลูกเสือ ผู้กำกับกองลูกเสือ รองผู้กำกับกองลูกเสือ นายหมู่ลูกเสือ และรองนายหมู่ลูกเสือ
    "ผู้อำนวยการสถานศึกษา" หมายความว่า ผู้อำนวยการหรือที่เรียกชื่ออย่างอื่นของสถานศึกษาซึ่งกองลูกเสือนั้นสังกัดอยู่ และให้หมายความรวมถึง สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ศูนย์การเรียน วิทยาลัย วิทยาลัยชุมชน สถาบัน มหาวิทยาลัย หน่วยงานการศึกษา หรือหน่วยงานอื่นของรัฐหรือเอกชน หรือสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่นของรัฐหรือเอกชนที่มีอำนาจหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา

วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การใส่วิดีโอใน word 2013

    ปกติในเอกสารเวิร์ดรุ่นก่อนๆ เราจะไม่สามารถใส่ไฟล์วิดีโอลงไปในเอกสารเวิร์ดได้ แต่ในเวิร์ด 2013 ได้มีฟีเจอร์ใหม่ที่ได้รับการปรับปรุง เราสามารถที่จะใส่ไฟล์วิดีโอได้ ใส่รูปภาพของคุณจากบริการรับฝากรูปภาพแบบออนไลน์ได้ ทำให้เอกสารดูดีขึ้น ซึ่งมีขั้นตอนการทำดังนี้ (ต้องต่ออินเทอร์เน็ต)

    1.เปิดโปรแกรมเวิร์ดขึ้นมา
    2.ไปที่ Insert คลิกที่ปุ่ม Online Video


วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

โปรแกรมที่ใช้ในการทำ E-book

โปรแกรมที่ใช้ในการทำ E-book
    ในการทำ E-book หรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์นั้น มีโปรแกรมที่ใช้ทำหลายตัว ขึ้นอยู่กับเราว่าจะเลือกใช้โปรแกรมตัวใด ซึ่งโปรแกรมแต่ละตัวจะมีคุณสมบัติและวิธีการใช้งานที่ต่างกันไป สามารถใส่รูปภาพ วิดีโอ Import ไฟล์ pdf, powerpoint, word และสามารถส่งไฟล์ออกมาในรูปแบบต่างๆ เช่น exe, epub, HTML, Flash, swf, zip เป็นต้น ตัวอย่างโปรแกรมที่ใช้ทำ E-book มีดังนี้
    1.โปรแกรม Desktop Author เป็นโปรแกรมสร้างหนังสือแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-book) ที่มีลักษณะคล้ายกับหนังสือจริง คือ มีหน้าปก สารบัญ ข้อความ รูปภาพ สามารถแทรกภาพเคลื่อนไหว ไฟล์ภาพยนตร์ ไฟล์ Flash เพิ่มเสียงบรรยาย สร้างลิงค์ไปยังเว็บไซต์ต่างๆ ผลงานที่ได้มีขนาดไฟล์เล็ก ทำให้สามารถดาวน์โหลดผ่านเว็บ หรือ ส่งผ่านอีเมล์ และสามารถเผยแพร่ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้

วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การใส่ favicon ให้บล็อก

    Favicon ก็คือ Favorite Icon หรือ Shortcut icon ใช้สำหรับเป็นการสร้าง Icon ให้กับเว็บไซต์ของเรา ทำให้เราสามารถสร้างเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ของเว็บเราได้เอง นอกจากเหนือจากการใส่ภาพไอคอนเล็กๆ แล้ว เราสามารถทำให้ FavIcon นี้แสดงเป็นภาพเคลื่อนไหวได้อีกด้วย  หากมีการ Bookmark หน้าเว็บในคอมพิวเตอร์ Favicon นี้ก็จะถูกนำไปใช้เป็นไอคอนของเว็บเราแทนค่าพื้นฐาน
    (ธีมส่วนใหญ่อาจไม่มีฟังชั่น Favicon มาในตัว แต่บางธีมก็มีอยู่แล้ว เราสามารถเช็คได้ใน Appearance > Theme Options เช่น ธีมจาก Mythemeshop ที่จะมีการตั้งค่า Favicon มาให้เสร็จสรรพ เราจึงไม่จำเป็นต้องลงปลั๊กอินเพิ่ม)

วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

กิลเวลล์ปาร์ค (GILWELL PARK)

กิลเวลล์ปาร์ค
    กิลเวลล์ปาร์ค  คือ  ค่ายลูกเสือแห่งแรกที่ได้จัดสร้างขึ้นมาตามความประสงค์ของลอร์ด เบเดน  เพาเวลล์ ผู้ให้กำเนิดการลูกเสือโลก  เพื่อใช้เป็นศูนย์ฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือ และการอยู่ค่ายพักแรมของลูกเสือ ลอร์ด เบเดน เพาเวลล์  ได้ทำการฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือด้วยตนเองเป็นครั้งแรก เมื่อ ปี พ.ศ.  2462 และยังใช้เป็นศูนย์ฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือนานาชาติ  (The International Training Centre for Scouters) ในโอกาสต่อมา (Rex Hazlewood. 1961)

วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

พระราชบัญญัติ ลูกเสือ พ.ศ. ๒๕๕๑

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ 
เป็นปีที่ ๖๓ ในรัชกาลปัจจุบัน

        พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยลูกเสือ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. ๒๕๕๑”

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

มาตรา ๓ ให้ยกเลิก
    (๑) พระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. ๒๕๐๗
    (๒) พระราชบัญญัติลูกเสือ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๐๙
    (๓) พระราชบัญญัติลูกเสือ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๘
    (๔) พระราชบัญญัติลูกเสือ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๐

วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เปิด Excel ไม่ได้

     ถ้าหากเปิด Excel แล้วขึ้นข้อความ "An error occurred when sending commands to the program"  ให้แก้ไขดังนี้

Method 1: Ignore DDE

To correct this setting, follow these steps:
    On the Tools menu, click Options.
    Click the General tab.
    Clear the Ignore other applications that use Dynamic Data Exchange (DDE) check box, and then click OK.
ถ้าหากแก้ปัญหาไม่ได้ให้ไปวิธีที่ 2

Method 2: Repair User Experience Virtualization (UE-V)
     If you are running Update User Experience Virtualization (UE-V), install hotfix 2927019. To do this, see the following Microsoft Knowledge Base article:

2927019 Hotfix Package 1 for Microsoft User Experience Virtualization 2.0 

วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

Blog คืออะไร

      BLOG :  a Web site that contains online personal reflections, comments, and often hyperlinks provided by the writer; also :  the contents of such a site.

      บล็อกมาจากการผสมคำระหว่าง  WEB ( Wolrd Wide Web) + LOG (บันทึก)  = BLOG  คือ เว็บไซต์ที่เจ้าของ หรือ Blogger สามารถบันทึกเรื่องราวของตนเองลงในเว็บได้ตลอดเวลา
      - บล็อก (Blog) คือเว็บไซด์รูปแบบหนึ่ง ที่มีลักษณะรูปร่างหน้าตาคล้ายๆกับการเขียนไดอารี่ หรือ บันทึกส่วนตัว ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในปัจจุบัน เนื่องจากเราใช้ฟรี ไม่ต้องเสียเงิน
      - คำว่า "Blog" มาจากคำเต็มว่า "Weblog" ซึ่งโดยนัยแล้วหมายถึง การบันทึกข้อมูล(Log) บน เว็บ (Web) นั่นเอง โดยผู้ที่เขียนบล๊อกเป็นอาชีพ จะถูกเรียกกันว่า "บล็อกเกอร์" (Blogger)
      - จุดเด่นที่สำคัญของ Blog คือ จะมีระบบที่ผู้อ่านและผู้เขียนสามารถแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนกันได้ โดยผ่านทางระบบ Comment ของบล๊อก

วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การจัดย่อหน้าใน wordpress

     หากต้องการจัดย่อหน้าบทความของเอกสารใน wordpress ให้เหมือนกับเอกสาร word (ตามรูป) ใน wordpress จะทำได้ยาก
     หากเลือกใช้คำสั่ง เพิ่มย่อหน้า จะได้ดังรูป

Blog ที่น่าสนใจ

stmath09.wordpress.com

https://krukanidta.wordpress.com/

http://www.proqblog.com/learning-wordpress/

วันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การใส่พาสเวิร์ดป้องกันไฟล์ Excel 2013

Excel 2013 Password-Protecting Your Spreadsheet

1. Choose File Save As, and then choose a location. เลือก บันทึกเป็น และเลือกตำแหน่งที่จะบันทึกงานไว้

2. From the Tools drop-down menu, pick General Options. จากดรอปดาวน์เมนูให้เลือก General Options

แบบวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล ม.1

ให้กรอกข้อมูลและตอบคำถามให้ครบทุกข้อ

https://stmath09.wordpress.com/แบบวิเคราะห์ผู้เรียนรา/

วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2558

วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การทำเฉลยข้อสอบด้วย Google DOC

1.ไปที่ไดรฟ์ แล้วคลิกเลือกไฟล์เอกสารของเราที่มีคำในวงเล็บว่า  การตอบกลับ

วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การใช้ Excel ตัดเกรด

1.สร้างตารางอ้างอิงเกรดขึ้นมา แล้วกำหนดชื่อช่องคะแนน

วันอาทิตย์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

การสร้างแบบทดสอบออนไลน์ด้วย Google DOC

1.ล็อกอินเข้า Google แล้วไปที่ แอป -->ไดรฟ์
2.สร้างข้อสอบโดยไปที่ ใหม่-->Google ฟอร์ม

วันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

การสร้างกราฟ Normal curve

ขั้นตอนการสร้างกราฟแบบ Area

     1.เตรียม Z Value สมมติให้เป็นค่าบนแกน X ซึ่งเป็นค่าตั้งแต่ -4 ถึง 4 โดยกำหนดให้แต่ละช่วงห่างกัน 0.5 (ถ้าต้องการกราฟละเอียดขึ้น ให้กำหนดแต่ละช่วงให้ห่างกันน้อยลง ซึ่งจะต้องมีจำนวนช่วงค่ามากขึ้นตามไปด้วย) พิมพ์เลข 4 ลงในช่อง B2 จากนั้นใช้คำสั่ง Fill -->Series จะปรากฏกล่องข้อความขึ้นมา ตรง Tab Series in เลือก Columns  ตรง Tab Type เลือก Linear  ตรง Step value ใส่ค่า 0.05 ตรง Stop value ใส่ 4 กด OK
     2.เตรียม Prob1 สมมติให้เป็นค่าของเส้นกราฟรูประฆังคว่ำรูปหลัก โดยใช้สูตร =NORMDIST(B2,0,1,FALSE) โดยใช้ค่า Z ในเซลล์ B2 เป็นค่า X ,กำหนด mean = 0 และ standard_dev = 1

วันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

แก้ปัญหาคณิตศาสตร์ด้วย MS Word 2013

1.ขั้นตอนแรกให้ไปดาวน์โหลด Microsoft Mathematics Add-In for Word and OneNote ไฟล์นาด 6.60 MB ที่ http://www.microsoft.com
2.ทำการติดตั้ง MASetup.exe จนแล้วเสร็จ แล้วทำการติดตั้ง Direct -X ด้วย
3.หลังจากนั้นทำการเปิดโปรแกรม MS Word 2013 จะมีแทป Mathematics เพิ่มขึ้นมา

วันพุธที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ปัดเศษทศนิยมในจดหมายเวียน

     อีกปัญหาที่เจอคือเมื่อนำข้อมูลจาก excel มาใส่ในจดหมายเวียนแล้วเกิดปัญหาทศนิยมเยอะเกิน ต้องคอยมานั่งแก้ที่ละตัว ซึ่งมีวิธีแกไขดังนี้
 1.คลิกขวา ที่ข้อมูลที่ต้องการปัดเศษทศนิยม เลือก "แก้ไขเขตข้อมูล" or Edit Field

วันอังคารที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

การสร้างจดหมายเวียน (Mail merge) word 2013



1.สร้างไฟล์ข้อมูลจาก Excel 2013 ตามต้องการ
 2.สร้างจดหมายหรือไฟล์งานต้นฉบับขึ้นมาก่อน (โดยเว้นในตำแหน่งของชื่อ/ที่อยู่ หรือรายละเอยดอื่นๆ ที่ต้องการใส่เพิ่มเติม) ใน Word 2013

พิธีเปิด-ปิดประชุมกอง

พิธีเปิดประชุมกอง ปฏิบัติ ดังนี้
    ๑. ผู้กำกับยืนหันหลังให้เสาธง ห่างประมาณ ๓ ก้าว
    ๒. ใช้คำสั่งเรียก “กอง” แล้วใช้สัญญาณมือเรียกแถวครึ่งวงกลม โดยใช้มือและแขนทั้งสองข้างวาดมาไขว้ด้านหน้าห่างลำตัวพองาม แล้ววาดมือและแขนออกไปข้างลำตัว ให้เป็นรูปครึ่งวงกลม ประมาณ ๓ เที่ยว พอลูกเสือมองเห็น จึงหยุดวาดมือ ผู้กำกับยืนนิ่งอยู่กับที่ไม่เดินไปมา
    ๓. หมู่แรกยืนอยู่ทางซ้ายมือของผู้เรียก ลูกเสือทุกนายสะบัดหน้าไปทางขวามือยกเว้นนายหมู่ ระยะเคียงระหว่างบุคคลห่าง ๑ ช่วงศอก โดยใช้ฝ่ามือซ้ายทาบสะเอวและดันศอกซ้ายให้เป็นแนวเดียวกับลำตัว ระยะเคียงระหว่างหมู่ ห่างกัน ๑ ช่วงแขน โดยให้รองนายหมู่ยกแขนซ้ายขึ้นวัดระยะแล้วลดมือลง
    ๔. หมู่ถัดไปเข้าแถวจัดระยะระหว่างหมู่และระยะเคียงระหว่างบุคคลเหมือนกับหมู่ที่ ๑ ต่อกันไปเรื่อยจนครบทุกหมู่ เรียงลำดับกันไปเป็นรูปครึ่งวงกลม โดยให้รองนายหมู่ หมู่สุดท้ายอยู่ทางขวามือของผู้เรียกตรงกับนายหมู่ หมู่ที่ ๑

วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

กฎกระทรวง ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๒๐)

                                                           กฎกระทรวง
                                                   ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๒๐)
                                           ออกตามความในพระราชบัญญัติลูกเสือ
                                                          พ.ศ. ๒๕๐๗


         อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ และมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. ๒๕๐๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
         ข้อ ๑  ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๑ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๑๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. ๒๕๐๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
                        "ข้อ ๑๑  เครื่องแบบผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ผู้ตรวจการลูกเสือ กรรมการลูกเสือและเจ้าหน้าที่ลูกเสือ เว้นแต่นายหมู่ลูกเสือ และรองนายหมู่ลูกเสือ ประกอบด้วย
                        (ก) หมวก มี ๒ แบบ คือ
                        หมวกปีกกว้างสีกากี มีหนังหรือวัตถุเทียมหนังสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลแก่กว้าง ๓ ซ.ม. พันรอบหมวก มีหัวขัดสีน้ำตาลแก่ด้านซ้าย ปีกหมวกสองข้างเจาะรูสำหรับร้อยสายรัดด้านหลังศีรษะ สายรัดทำด้วยเชือกถักสีเดียวกับหมวก ผูกเป็นปมไว้ข้างหลัง มีตราหน้าหมวกรูปตราคณะลูกเสือแห่งชาติ ทำด้วยโลหะสีทอง
                        หมวกทรงอ่อนสีเขียว มีตราหน้าหมวกรูปตราคณะลูกเสือแห่งชาติ ทำด้วยโลหะสีทอง เวลาสวมให้ตราหน้าหมวกอยู่เหนือคิ้วซ้าย
                        (ข) เสื้อ เช่นเดียวกับเสื้อเครื่องแบบลูกเสือสามัญ หรือเสื้อเครื่องแบบปกติกากีคอพับของข้าราชการชายตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน
                        (ค) ผ้าผูกคอ เช่นเดียวกับผ้าผูกคอเครื่องแบบลูกเสือสามัญ แต่มีขลิบสีขาบขนาด ๒ ซม. ๒ ด้าน

วันเสาร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๑๐)

                                                   กฎกระทรวง
                                           ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๑๐)
                                 ออกตามความในพระราชบัญญัติลูกเสือ
                                                  พ.ศ. ๒๕๐๗

                                                         หมวด ๑
                   ลูกเสือสำรอง ลูกเสือสามัญ ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่และลูกเสือวิสามัญ


ข้อ ๑  เครื่องแบบลูกเสือสำรอง  ประกอบด้วย
         (ก) หมวกทรงกลมมีกะบังหน้าหมวก ทำด้วยผ้าสีกรมท่า ตัวหมวกเย็บด้วยผ้า ๖ ชิ้น แนวตะเข็บระหว่างชิ้นและขอบหมวกโดยรอบทาบด้วยด้ายหรือไหมถักสีเหลือง เมื่อเข้าพิธีประจำกองแล้ว มีตราหน้าหมวกรูปหน้าเสือและอักษรใต้หน้าเสือว่า "ลูกเสือ" สีเหลือง บนผ้าสีกรมท่า ขลิบริมสีกรมท่า รูปไข่ ยาว ๔ เซนติเมตร กว้าง ๓.๕ เซนติเมตร
         (ข) เสื้อแขนสั้น แบบและสีตามที่ผู้บังคับบัญชาลูกเสือแต่ละโรงเรียนกำหนดให้สอดชายเสื้ออยู่ภายในกางเกง
         (ค) ผ้าผูกคอรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วด้านฐาน ๙๐ เซนติเมตร ด้านตั้ง ๖๕เซนติเมตร สีตามที่ผู้บังคับบัญชาลูกเสือแต่ละโรงเรียนกำหนด และมีห่วงซึ่งไม่ใช่ห่วงกิลเวลล์สวมผ้าผูกคอ
         (ง) กางเกงขาสั้น แบบและสีตามที่ผู้บังคับบัญชาลูกเสือแต่ละโรงเรียนกำหนด
         (จ) เข็มขัดหนังสีน้ำตาล กว้างไม่เกิน ๓ เซนติเมตร หัวชนิดหัวขัด ทำด้วยโลหะสีทอง มีลายดุนรูปตราคณะลูกเสือแห่งชาติภายในกรอบช่อชัยพฤกษ์
         (ฉ) ถุงเท้า รองเท้า ชนิดและสีตามที่ผู้บังคับบัญชาลูกเลือกแต่ละโรงเรียนกำหนด

วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

การแต่งกายผู้บังคับบัญชาลูกเสือ

    การแต่งเครื่องแบบลูกเสือ เป็นความภาคภูมิใจของเราผู้สืบทอดเจตนารมณ ร.6 ครูผู้สอนต้องแต่งเครื่องแบบ
    ถ้าไม่ผ่านการอบรม ใส่ผ้าผูกคอสีประจำจังหวัด ให้ใส่วอคเกิ้ลหน้าเสือธรรมดา
    ถ้าผ่านการอบรม B.T.C. (เปรียบเทียบกับท่านจบ ปกศ.) ใส่ผ้าผูกคอสีประจำจังหวัด สวมตะกร้อ
    ถ้าผ่านการอบรม A.T.C. (เปรียบเทียบกับท่านจบ ปริญญาตรี) เมื่อผ่านการตรวจขั้นที่ 5 จะผูกผ้าสีกะปิ แขวนวูดแบดจ์ 2 ท่อน (W.B.)
    ถ้าผ่านการอบรม A.L.T.C. (เปรียบเทียบกับท่านจบ ปริญญาโท ) เมื่อทำผลงานผ่านแล้วจะผูกผ้าสีกะปิ แขวนวูดแบดจ์ 3 ท่อน (A.L.T.)
    ถ้าผ่านการอบรม L.T.C. (เปรียบเทียบกับท่านจบ ปริญญาเอก) เมื่อทำผลงานผ่านแล้วจะผูกผ้าสีกะปิ แขวนวูดแบดจ์ 4 ท่อน (L.T.)
    ส่วนหลักสูตรลูกเสือสำรอง สามัญ หรือสามัญรุ่นใหญ่นั้น ก็คือวิชาเอกหรือวิชาที่เลือกอบรมนั่นเอง

  การใช้ผ้าผูกคอ ตามกฎกระทรวงว่าด้วยเครื่องแบบลูกเสือ กำหนดไว้ดังนี้

วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ประวัติการลูกเสือไทย

    พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพระชนมายุได้ 13 พรรษา ได้เสด็จไปทรงศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ ทวีปยุโรป ระหว่างที่ทรงศึกษาอยู่นั้น ได้ทรงทราบเรื่องการสู้รบเพื่อรักษาเมืองมาฟิคิง (Mafeking) ของ ลอร์ดเบเดน โพเอลล์ (Lord Baden Powell) ซึ่งได้ตั้งกองทหารเด็กเป็นหน่วยสอดแนมช่วยรบในการรบกับพวกบัวร์ (Boar) จนประสบผลสำเร็จ และได้ตั้งกองลูกเสือขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก ที่ประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2450 เมื่อพระองค์เสด็จนิวัติสู่ประเทศไทย ก็ได้ทรงจัดตั้งกองเสือป่า (Wild Tiger Corps) ขึ้น เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2454 มีจุดมุ่งหมายเพื่อฝึกหัดให้ข้าราชการและพลเรือนได้เรียนรู้วิชาทหาร เพื่อเป็นคุณประโยชน์ต่อบ้านเมือง รู้จักระเบียบวินัย มีความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ต่อจากนั้นอีก 2 เดือน ก็ได้พระราชทานกำเนิดลูกเสือไทยขึ้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2454 ด้วยทรงมีพระราชปรารภว่า เมื่อฝึกผู้ใหญ่เป็นเสือป่า เพื่อเตรียมพร้อมในการช่วยเหลือชาติบ้านเมืองแล้ว เห็นควรที่จะมีการฝึกเด็กชายปฐมวัยให้มีความรู้ทางเสือป่าด้วย เมื่อเติบโตขึ้นจะได้รู้จักหน้าที่และประพฤติตนให้เป็นประโยชน์ต่อชาติบ้าน เมือง


วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2558

ประวัติลูกเสือโลก


ประวัติลูกเสือโลก

       โรเบิร์ต สตีเฟนสัน สไมธ์ เบเดน-โพเอลล์ (Robert Stephenson Smyth Baden - Powell) เกิดในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1857 ตรงกับวันที่พวกอเมริกันฉลองวันเกิดของยอร์ช วอชิงตัน อายุครบรอบร้อยปี บิดาของท่านชื่อ Reverend H.G. Beden-Powell เป็นศาสตราจารย์ที่ออกซ์ฟอร์ด มารดาของท่านเป็นธิดาของพลเรือเอกดับ ที. สไมธ์ (W.T. Smyth) แห่งราชนาวีอังกฤษ ทวดของท่านคือ โจเซฟ บรูเออร์ สไมธ์ (Joseph Brewer Smyth) ได้อพยพไปอยู่อเมริกา ในนิวเจอร์ซี่แต่ได้เดินทางกลับไปอังกฤษและเรือแตกในระหว่างที่เดินทางกลับถึงบ้าน ฉะนั้นเบเดน-โพเอลล์ จึงเป็นผู้สืบสันดานผู้ที่เป็นพระสายหนึ่ง และของผู้อพยพที่กล้าผจญภัยในโลกใหม่อีกสายหนึ่ง
       ในปี ค.ศ. 1870 บี.พี. ได้เข้าเรียนในโรงเรียนชาร์ตเตอร์เฮาส์ในกรุงลอนดอน โดยได้รับทุนเล่าเรียน ท่านไม่ใช่คนเก่งทางหนังสือมากนัก แต่ทานก็เป็นคนที่สนุกสนานที่สุดคนหนึ่ง เมื่อมีอะไรในสนามของโรงเรียน ท่านจะอยู่ในกลุ่มนั้นเสมอ เล่ห์เหลี่ยมการซุ่มตามจับสัตว์ซึ่ง บี.พี.ได้ฝึกฝนทีในป่ารอบๆ โรงเรียนชาร์เตอร์เฮาส์

วันเสาร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2558

เพลงลูกเสือ

1.“ราชสดุดี”

     ข้าลูกเสือเชื้อไทยใจเคารพ    ขอน้อมนบบาทบงสุ์พระทรงศรี
     พระบาทมงกุฎเกล้าฯ จอมเมาลี    ทรงปราณีก่อเกื้อลูกเสือมา
     ทรงอุตส่าห์อบรมบ่นิสัย    ให้มีใจรักชาติศาสนา
     ทรงสั่งสอน สรรพกิจ วิทยา    เป็นอาภาผ่องพทุธิวุฒิไกร
     ดังดวงจันทราทิตย์ประสิทธิ์แสง    กระจ่างแจ้งแจ่มภพสบสมัย
     พระคุณนี้จะสถิตสนิทใน    ดวงหทัยทวยราษฎร์ไม่คลาดเอย

2.“ลูกเสือไทย”

     เหล่าลูกเสือ ของธีรราช        ทะนงองอาจ สืบชาติเชื้อพงศ์พันธ์
     สมัครสมาน โดยมีสามัคคีมั่น    พวกเราจะร่วมรักกันจะผูกสัมพันธ์ตลอดกาล
     มีจรรยา....รักษาชื่อ สร้างเกียรติระบือ   เลื่องลือต่อไปช้า-นาน ร่าเริงแจ่มใส
     ใส่ใจรักให้ยืนนาน พวกเราล้วนชื่นบาน  เพราะกิจการลูกเสือไทย

3.“วชิราวุธรำลึก”

     วชิราวุธพระมงกุฎเกล้า เจ้าประชา    ก่อกำเนิดลูกเสือมา ข้าเลื่อมใส
     พวกเราลูกเสือ เชื้อชาติไทย    เทิดเกียรติพระองค์ไว้ ด้วยภักดี
     ลูกเสือรำลึกนึกพระคุณ เทิดบูชา    ปฏิภาณรักกษัตริย์ ชาติศาสน์ศรี
     มาเถิดลูกเสือ สร้างความดี    เพื่อศักดิ์ศรีลูกเสือไทย ดั่งใจปอง

วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2558

วุฒิทางลูกเสือ

วุฒิทางลูกเสือ  ที่ได้รับจากการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือ
C      = ลูกเสือสำรอง
S      = ลูกเสือสามัญ
S.S.  = ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
R      = ลูกเสือวิสามัญ

1.ขั้นความรู้ทั่วไป (General Information Course) ระยะเวลาอบรม 1 วัน  ได้รับวุฒิบัตร ไม่แยกประเภท ไม่มีตัวอักษรย่อ

2.ขั้นความรู้เบื้องต้น  ระยะเวลาอบรม  3 วัน 2 คืน  ได้รับวุฒิบัตรและห่วงกิลเวลล์ (Gillwell Woggle)  หากอบรมก่อนปี พ.ศ. 2522  ใช้ตัวอักษรย่อ  P.T.C.  ในปัจจุบัน  ใช้ตัวอักษรย่อ  B.T.C. (Basic Unit Leader Training Course) แยกเป็น  4 ประเภท  คือ

    ผู้กำกับลูกเสือสำรอง  C.B.T.C.
    ผู้กำกับลูกเสือสามัญ  S.B.T.C.
    ผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่  S.S.B.T.C.
    ผู้กำกับลูกเสือวิสามัญ  R.B.T.C.

3.ขั้นความรู้ชั้นสูง  ระยะเวลาอบรม  7 วัน 6 คืน  หรือ  8 วัน 7 คืน  ได้รับวุฒิบัตร ใช้ตัวอักษรย่อ  A.T.C. (Advance Unit Leader Training Course) แยกเป็น 4 ประเภท (ยังไม่ได้รับเครื่องหมายวูดแบดจ์ 2 ท่อน  และผ้าผูกคอกิลเวลล์) คือ

    ผู้กำกับลูกเสือสำรอง  C.A.T.C.
    ผู้กำกับลูกเสือสามัญ  S.A.T.C.
    ผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่  S.S.A.T.C.
    ผู้กำกับลูกเสือวิสามัญ  R.A.T.C.

ความหมายของคำปฏิญาณและกฎของลูกเสือ

คำปฏิญาณของลูกเสือ
"ด้วยเกียรติของข้า ข้าสัญญาว่า"
ข้อ ๑ ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
ข้อ ๒ ข้าจะช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ
ข้อ ๓ ข้าจะปฏิบัติตามกฎของลูกเสือ

คำปฏิญาณ 3 ข้อ

ข้อ 1 "ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์"
    ชาติ หมายถึง กลุ่มชนที่มีความรู้สึกในเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา ประวัติศาสตร์ ความเป็นมา ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมเดียวกัน หรืออยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลเดียวกัน ดังนั้น ลูกเสือควรปฏิบัติต่อชาติ ดังนี้
    ๑. ประพฤติตนเป็นพลเมืองดี หมั่นศึกษาหาความรู้ใส่ตัว
    ๒. เชื่อฟัง ปฏิบัติตามคำสั่งและคำแนะนำที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม
    ๓. ไม่ประพฤติผิดต่อขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม และกฎหมายบ้านเมือง
    ๔. เป็นผู้ประกอบอาชีพสุจริต สร้างความเจริญก้าวหน้าแก่ชาติ
    ๕. เป็นผู้เสียสละ พลีเลือดเนื้อและชีวิตรับใช้ชาติด้วยความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวต่อสู้รักษาเอกราชของชาติไว้ในเมื่อมีศรัตรูมารุกราน

    ศาสนา เป็นเครื่องเหนี่ยวรั้งจิตใจและสั่งสอนให้คนรู้ดีรู้ชอบ ละเว้นความชั่วไม่เบียดเบียนกัน ให้ประพฤติแต่ความดี และประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ ลูกเสือจึงต้องเคารพและปฏิบัติต่อศาสนาดังนี้
    ๑. ปฏิบัติกิจทางศาสนา ตามจารีตประเพณีที่ตนนับถือด้วยใจบริสุทธิ์
    ๒. เคารพสักการะ เชื่อฟัง และปฏิบัติตามคำสั่งสอนของศาสนาที่ตนนับถือ
    ๓. ประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ โดยไม่แสดงอาการลบหลู่ศาสนาอื่น
    ๔. ละเว้นการประพฤติชั่ว กระทำแต่ความดี
    ๕. เข้าร่วมพิธีทางศาสนาตามเวลาและโอกาสอันควร

    พระมหากษัตริย์ ทรงเป็นองค์พระประมุขของชาติ ทรงเป็นอัครศานูปถัมภก เป็นพระบรมราชูปถัมภ์คณะลูกเสือแห่งชาติ ทรงเป็นจอมทัพไทย และเป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทยลูกเสือต้องปฏิบัติต่อองค์พระมหากษัตริย์ดังนี้
    ๑. ถวายความเคารพสัการะต่อพระองค์ท่าน พระบรมวงศานุวงศ์และพระบรมฉายาลักษณ์ ไม่แสดงกิริยาวาจาอันเป็นการลบหลู่ดูหมิ่น
    ๒. ไม่กระทำการใดๆ ที่จะเป็นการกระทบกระเทือนเสื่อมเสียพระเกียรติคุณ อีกทั้งยังต้องช่วยป้องกันมิให้คนอื่นกระทำเช่นนั้นด้วย
    ๓. ยอมสละเลือดเนื้่อถวายเป็นราชพลีได้

วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2558

คำปฏิญาณและกฎของลูกเสือ

คำปฏิญาณของลูกเสือ
    คำปฏิญาณ คือ คำมั่นสัญญาที่ลูกเสือได้ให้ไว้แก่ผู้บังคับบัญชาต่อหน้าแถวหรือในพิธีการทางลูกเสือเป็นหลักสากล ที่ลูกเสือทุกคนต้องปฏิบติเช่นเดียวกันหมด ลูกเสือจะต้องจดทำคำปฏิญาณให้ได้และต้อง พยายามปฏิบัติตน ตามคำปฏิญาณอย่างเต็มความสามารถหรือให้ดีที่สุด

กฎของลูกเสือ
    กฏ คือ ข้อบัญญัติหรือกำหนดสำหรับเป็นแนวทางให้ลูกเสือนำไปปฏิบัติ มีด้วยกันทั้หมด 10 ข้อ กฎของลูกเสือไม่ใช่ข้อห้ามหรือข้อบังคับ แต่เป็นหลักปฏิบัติที่ลูกเสือจะต้องทำด้วยความสมัครใจ ด้วยวิญาณของลูกเสือซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

คำปฏิญาณของลูกเสือสำรอง

    ข้าสัญญาว่า  (I promise)
    ข้อ ๑ ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
    ข้อ ๒ ข้าจะยึดมั่นในกฎของลูกเสือสำรอง และบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่นทุกวัน
กฎของลูกเสือสำรอง
    ข้อ ๑ ลูกเสือสำรองทำตามลูกเสือรุ่นพี่
    ข้อ ๒ ลูกเสือสำรองไม่ทำตามใจตนเอง


คำปฏิญาณของลูกเสือสามัญ ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ และลูกเสือวิสามัญ
    ด้วยเกียรติของข้า ข้าสัญญาว่า (On my honour, I promise)
    ข้อ ๑ ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
    ข้อ ๒ ข้าจะช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ
    ข้อ ๓ ข้าจะปฏิบัติตามกฎของลูกเสือ

คติพจน์ของลูกเสือ

คติพจน์ของลูกเสือทั่วไป
เสียชีพอย่าเสียสัตย์

คติพจน์ของลูกเสือสำรอง
ทำดีที่สุด (Do Our Best)

คติพจน์ของลูกเสือสามัญ
จงเตรียมพร้อม (Be Prepared)

คติพจน์ของลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
มองไกล (Look Wide)

คติพจน์ของลูกเสือวิสามัญ
บริการ (Service)


วัตถุประสงค์
          เพื่อพัฒนาลูกเสือทั้งทางกาย สติปัญญา จิตใจและศีลธรรม ให้เป็นพลเมืองดีมีความรับผิดชอบ และช่วยสร้างสรรค์สังคมให้เกิดความสามัคคีและเจริญก้าวหน้า ทั้งนี้ เพื่อความสงบสุข และความมั่นคงของประเทศชาติตามแนวทางดังต่อไปนี้
          1. ให้มีนิสัยในการสังเกตจดจำ เชื่อฟัง และพึ่งตนเอง
          2. ให้ซื่อสัตย์สุจริต มีระเบียบวินัยและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
          3. ให้รู้จักบำเพ็ญตนเพื่อสาธารณประโยชน์
          4. ให้รู้จักทำการฝีมือ และฝึกฝนให้ทำกิจการต่างๆตามความเหมาะสม
          5. ให้รู้จักรักษาและส่งเสริมจารีตประเพณีวัฒนธรรมและความมั่นคงของประเทศชาติ


ประเภทของลูกเสือ
          สำหรับประเทศไทยนั้นยึดถือตามแบบอังกฤษ คือ 
             1. ลูกเสือสำรอง เนตรนารีสำรอง
             2. ลกเสือสามัญ เนตรนารีสามัญ
             3. ลกเสอสามัญรุ่นใหญ่ เนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่
             4. ลูกเสือวิสามัญ  เนตรนารีวิสามัญ

วันพฤหัสบดีที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2558

Multiplication table

สูตรคูณแบบ Standard ต้องท่อง 144 ตัว แต่แบบของจีนท่องเพียง 78 ตัว ความเหมือนที่แตกต่าง