หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2562

การหาอำนาจจำแนกของข้อสอบ

อำนาจจำแนก  หมายถึง  การที่ข้อคำถามสามารถจัดแบ่งผู้เรียนออกเป็น 2 กลุ่มได้ โดยกลุ่มผู้เรียน 2 กลุ่มในที่นี้คือ ผู้เรียนกลุ่มเก่งและผู้เรียนกลุ่มอ่อน หรือกลุ่มที่ชอบและกลุ่มที่ไม่ชอบ  ค่าอำนาจจำแนกที่คำนวณได้จะมีค่าอยู่ระหว่าง –1 ถึง 1 โดยที่
     ค่าอำนาจจำแนกมีค่ามากกว่า 0.40         ถือว่าข้อคำถามข้อนั้นมีอำนาจจำแนกดีมาก
     ถ้าอยู่ระหว่าง 0.30 – 0.39                   ถือว่าข้อคำถามข้อนั้นมีอำนาจจำแนกดี
     ถ้าอยู่ระหว่าง 0.20 – 0.29                   ถือว่าข้อคำถามข้อนั้นควรปรับปรุงใหม่
     ถ้ามีค่าต่ำกว่า 0.20                            ถือว่าข้อคำถามข้อนั้นมีค่าอำนาจจำแนกไม่ดี

ขั้นตอนการคำนวณ
1.กรอกข้อมูลคำตอบที่นักเรียนตอบ ในที่นี้ นักเรียน 30 คน ข้อสอบ 118 ข้อ
2.หาผลรวมของแต่ละคนไปที่ Transfer --> Compute variable
        Target Variable :  Tatal
        Numeric Expression : Sum(ข้อ1 to ข้อ118)
        กดปุ่ม OK


3.เรียงคะแนนกลุ่มสูงไปต่ำ ไปที่ Data --> Sort Cases
    ช่อง Sort by : Tatal
    เรียงจากมากไปน้อย  Sort order : Descending
    กดปุ่ม OK


4.ทำ transpose ไปที่  Data --> Transpose
    ช่อง Variable : เลือกข้อ1 ถึง 118
    กดปุ่ม OK


5.ไปที่เมนู Transform --> Compute Variable
    Target Variable :  H
    Numeric Expression : Sum(Var001 to Var015)
    กดปุ่ม OK

    Transform --> Compute Variable
    Target Variable :  L
    Numeric Expression : Sum(Var015 to Var030)
    กดปุ่ม OK

    Transform --> Compute Variable
    Target Variable :  r
    Numeric Expression : Sum(H-L)/15
    กดปุ่ม OK