หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2558

วุฒิ A.T.C.ผู้นำ ต่างกับวุฒิ A.T.C.ตามประเภทของลูกเสือ

หลักสูตรผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ระดับผู้นำ ขั้นความรู้ชั้นสูง หรือ (A.T.C. ผู้นำ)
    มีวัตถุประสงค์ เพื่ออบรมให้ผู้บริหารการศึกษา ระดับรองผู้อำนวยการขึ้นไป หรือผู้บริหารในหน่วยงานของทางราชการ ซึ่งมิใช่ระดับปฏิบัติการ (โดยเฉพาะครูผู้สอน สายปฏิบัติการ แต่ก็อนุโลมได้) ได้รู้ เข้าใจ หลักการ วิธีการกระบวนการลูกเสือ และจะได้ให้การสนับสนุนกิจการลูกเสือต่อไป การฝึกอบรมจะเป็นไปในลักษณะกว้าง แค่รู้ลักษณะ ของลูกเสือแต่ละประเภท พอสังเขป เพียงแต่พอเข้าใจ ทักษะทางลูกเสือพอประมาณ
    A.T.C. ผู้นำ เมื่อผ่านการฝึกอบรม จะได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยผู้ตรวจการ ประจำสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ ให้การสนับสนุนกิจการลูกเสือ ตามที่หน่วยงานหรือกองลูกเสือต้องการ และไม่สามารถรับการแต่งตั้งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิสำหรับประเมินขั้นที่ 5 ได้
    เกณฑ์การประเมินผลและรายละเอียดข้อมูลดำเนินการตรวจขั้นที่  5
        สอบสัมภาษณ์โดยตรงกับผู้ทรงคุณวุฒิจาก สนง.คณะลูกเสือแห่งชาติ กำหนดให้ 20 ข้อ เลือกตอบเพียง 10 ข้อ   เพื่อให้เป็นที่แน่ใจว่าผู้ปฏิบัติการนั้น มีความเข้าใจในเรื่องต่อไปนี้ ชัดเจนเพียงใด  มี 5 ข้อที่บังคับ คือ
        1.เรื่องเกี่ยวกับสำนักงานคณะกรรมการบริหารฯหรือกองลูกเสือ
        2.พระราชบัญญัติลูกเสือ
        3.ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ
        4.กฏกระทรวงว่าด้วยเครื่องแบบลูกเสือ
        5.คำปฏิญาณ และกฏ
 
หลักสูตรวิชาผู้กำกับลูกเสือ (ประเภทสำรอง สามัญ สามัญรุ่นใหญ่ วิสามัญ) ขั้นความรู้ชั้นสูง (A.T.C.)

    มีวัตถุประสงค์ เป็นหลักสูตรวิชาผู้กำกับลูกเสือโดยตรง เพื่อให้ผู้ผ่านการฝึกอบรมสามารถปฏิบัติหน้าที่ฝึก อบรมเยาวชนในวัยต่าง ๆ ตามประเภทของลูกเสือได้ เพราะฉะนั้น หลักสูตรจะแยกประเภทของลูกเสืออย่างชัดเจน เพราะต้องทำความเข้าใจ เรียนรู้ทักษะของลูกเสือของประเภท (ตามหลักสูตร)
    A.T.C. ตามประเภทลูกเสือ (ประเภทสำรอง สามัญ สามัญรุ่นใหญ่ วิสามัญ) จะได้รับการแต่งตั้งเป็น ผกก.หรือรอง ผกก. เพื่อดูแลฝึกอบรมลูกเสือ เป็นผู้กำกับตามความมุ่งหมายของ B.P. และสามารถได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิประเมินขั้นที่ 5
    เกณฑ์การประเมินผลและรายละเอียดข้อมูลดำเนินการตรวจขั้นที่  5
        1.หลักฐานการบริหารงานกองลูกเสือ
        2.กระบวนการทางวิธีการการฝึกอบรมลูกเสือ
        3.กิจกรรมภาคปฏิบัติของผู้กำกับลูกเสือร่วมกับลุกเสือ (สาธิตการประชุมกอง , สาธิตการสวนสนาม ,สาธิตการประชุมนายหมู่ , และ ตรวจสอบงานธุรการในกองลูกเสือโรงเรียน ยกเว้น ลส.สำรอง ทำเพียง สาธิตการประชุมกอง การสอนระเบียบแถว และตรวจสอบงานธุรการ)
        4.การสัมภาษณ์ความรู้  ความเข้าใจในกิจการลูกเสือ

    สรุป แตกต่างที่หลักสูตรและการประเมิน แต่จุดประสงค์หลักก็คือ ต้องการพัฒนากิจกรรมลูกเสือไทยให้เจริญก้าวหน้า

https://www.facebook.com/TheVoluntaryScoutChaiyaphumNetwork/posts/418470078189898
http://rvc.ac.th/al/index.php?option=com_content&view=article&id=71&Itemid=90
https://www.gotoknow.org/posts/200299